31 มกราคม 2567:Agile Project Management

31 มกราคม 2567: อาจารย์ ดร.ไมตรี บุญขันธ์ ได้ทำการฝึกอบรม “การบริหารโครงการด้วยความคล่องตัว Agile Project Management” ครับ

ขอบคุณ บริษัท จัดหางาน สเกาท์ เอาท์ จำกัด ด้วยครับ

เคยไหม? ที่เจองานหลายๆงานแล้วงานเสร็จล่าช้าไม่ตรงตามกำหนด งบประมาณบานปลาย ทีมงานทำงานยุ่งทำงานไม่เสร็จกับทีมงานที่ว่างไม่รู้จะทำอย่างไร? จะรักษา balance ในการทำงานของทีมงานได้อย่างไร? เพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้

การทำงานแบบ Agile ถือเป็นอีกทางรอดขององค์กรให้เกิดการทำงานที่เร็วขึ้น และตอบสนองความต้องการกับกลุ่มเป้าหมายสูงสุด เนื่องจากมีหลายๆคนที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้านช่วยกันวางแผน พัฒนานำไปสู่การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับนักบริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจที่จะพัฒนาทักษะการทำงานแนวใหม่แบบ Agile โดยนำเทคนิคมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการวางแผน และทำงานไปทีละนิดๆ และค่อยๆ ประเมินว่า “ไปต่อดีหรือถูกทางไหม” แล้วจึงเดินหน้าต่อนั่น หมายถึง การกำหนดเป้าระยะสั้นและค่อยเป็นค่อยไป เมื่อเจอปัญหาหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงจะสามารถรับมือแก้ไขได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

การที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามนโยบายและเป้าหมาย ที่บริษัทกำหนด และสิ่งสำคัญคือการอบรมให้พนักงานทุกคนทราบขั้นตอนการดำเนินงานตามหลักคิดนี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้พนักงานดำเนินกิจกรรมไปในทิศทางเดียวกันก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและทำให้บริษัท ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และสอดคล้องกับนโยบายขององค์กร ที่สามารถต่อยอดเพื่อสร้างประสิทธิภาพให้แก่องค์กร ไปสู่โครงการอื่น ๆ ต่อไป

ส่วนที่ 1: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Agile Project Management

  • คำนิยามของ Agile Project Management และสิ่งที่แตกต่างจากวิธีการจัดการโครงการทั่วไป
  • หลักการแถะความสำคัญของ Agile Values และ Principles
  • แนวคิดแถะการบริหารงานแบบ Agile กับ Waterfall ต่างกันอย่างไร
  • 4 คุณค่าหลักของ Agile Manifesto (The 4 Core Values of the Agile Manifesto)

ส่วนที่ 2: Scrum Framework คืออะไร

  • ทำความรู้จัก Scrum
  • หน้าที่แถะความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ใน Scrum
  • Scrum Events: Sprint, Daily Scrum, Sprint Review, และ Sprint Retrospective
  • Scrum Artifacts: Product Backlog, Sprint Backlog, และ Increment

ส่วนที 3: Kanban คืออะไร

  • ความหมายและรากฐานของ Kanban
  • กระบวนการ Kanban และการบริหารงานที่มีความยืดหยุ่น
  • การเข้าใจและการใช้งานบอร์ด Kanban
  • Kanban ทำงานยังไง ต่างกับ Scrum ยังไง

พักกลางวัน

ส่วนที่ 4: ความหมายและหลักการของ Lean Thinking

  • ความหมายของ Lean Thinking แถะหถักการที่เกี่ยวข้อง
  • การตรวจสอบคุณภาพและการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน
  • การปรับใช้ Lean Thinking ในการบริหารโครงการ

ส่วนที่ 5: เครื่องมือและเทคนิคการรูปแบบ Agile

  • การใช้งานตัวช่วยสำหรับ Agile Project Management เช่น Burndown Charts, Cumulative Flow Diagrams, และ Velocity
  • เทคนิคการวางแผนและการติดตามการดำเนินงานในโครงการแบบ Agile

ส่วนที่ 6: การจัดการโครงการแบบ Agile แบบลงมือปฏิบัติจริง

  • กิจกรรมสมมติในการจัดการโครงการ Agile
  • การปฏิบัติการในรูปแบบ Agile จริง ๆ

การสร้างและติดตามบอร์ด Kanban

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *