9 มีนาคม 2566: อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์ ขอบคุณผู้เข้าอบรม ..🎡🎺🎢 “การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์และตามสภาพ” 🎠📹🌿 ในวันนี้ทุกท่านครับ
Predictive #Maintenance
ขอบคุณ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยครับ
การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม วัดประสิทธิผลของการปฏิบัติที่ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ซึ่งถือเป็นดัชนีความสำเร็จในภาพรวม โดยพิจารณาที่ผลลัพธ์เป็นสำคัญ กล่าวคือ การพิจารณาที่การใช้ประโยชน์จากเครื่องจักร การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบและการทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องมีหน่วยวัดอื่น เช่นการวัดระยะเวลาเฉลี่ยที่เครื่องจักรใช้งานได้ก่อนการเสียหาย หรือ MTBF (Mean Time Between Failure) และ ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการแก้ไขเมื่อเครื่องจักรเสียแต่ละครั้ง หรือ MTTR (Mean Time To Repair) เป็นต้น รวมถึงหลักการซ่อมบำรุงรักษาด้วยตนเองเบื้องต้นของผู้ที่อยู่หน้าเครื่องจักร (AM) ทั้ง 8 ด้านที่ควรรู้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถรับรู้ถึงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรไปพร้อมๆกันเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงเครื่องจักรอย่างต่อเนื่องต่อไป
การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์และตามสภาพ (Predictive & Condition base maintenance) คือ “กิจกรรมที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลจากกระบวนการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันปัญหาในการบำรุงรักษาโดยการพยากรณ์ความน่าจะเป็นในการเกิดความล้มเหลว” นั่นหมายความว่าองค์กรต้องใช้ข้อมูลที่มีอยู่นำมาใช้พยากรณ์ว่าเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่เราใช้อยู่ในกระบวนการ น่าจะเกิดความล้มเหลว หรือมีอะไรน่าจะเสียได้บ้าง
การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ จึงเป็นคำตอบที่ดีขององค์กรที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต ด้วยการเพิ่มความสามารถในการเดินเครื่องได้ตลอดเวลาของเครื่องจักรผ่านกิจกรรมการซ่อมบำรุง ที่ในระหว่างการอบรมจะมีแบบฝึกหัด ตัวอย่าง และการระดมสมองของผู้เข้าร่วมการอบรมเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้จริงหลังการอบรม
หัวข้อการอบรม ระยะเวลา 6 ชั่วโมง
- องค์ประกอบของการผลิต ด้าน ต้นทุน กำไร และรายได้
- ความหมายของ ระบบการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
- บทบาทและความรับผิดชอบของพนักงานฝ่ายผลิตในสายงานซ่อมบำรุง
- ความรู้พื้นฐานของการซ่อมบำรุงด้วยตนเองของพนักงาน
- ความสูญเสียหลักทั้ง 6 ประการของเครื่องจักร
- กลยุทธ์ในการดำเนินการ Predictive& Condition base Maintenance
- การวิเคราะห์เครื่องจักรเพื่อการกำหนดลักษณะการบำรุงรักษา
- การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยคลื่นเสียง
- การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยความสั่นสะเทือน
- การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยภาพถ่าย
- การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยสารหล่อลื่นที่ใช้แล้ว
- การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์
7.ข้อดีของการใช้การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์และตามสภาพ ในการผลิต
Workshop1: การสำรวจเครื่องจักรเพื่อทำระบบ Predictive & Condition base Maintenance เบื้องต้นของผู้เข้าอบรม
Workshop2 การรวมตัวเพื่อสร้างกลุ่ม ในการทำกิจกรรม Predictive & Condition base Maintenance แบ่งผู้เข้าสัมมนาออกเป็น 5 กลุ่มย่อย นำเครื่องจักรที่ใช้ในการปฏิบัติงานจริงในโรงงานมาทำกรณีศึกษา และนำเสนอผลงานแต่ละกลุ่มอภิปรายแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
Workshop3: กรณีศึกษาของการใช้ระบบ Predictive & Condition base Maintenance ที่ประสบผลสำเร็จ
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถามตอบ
กลุ่มเป้าหมาย
หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป