30 สิงหาคม 2567: การลดความสูญเสียเพื่อเพิ่มคุณภาพของสินค้า

30 สิงหาคม 2567: อาจารย์ ดร.ไมตรี บุญขันธ์ ได้ฝึกอบรม..🌿🎉☀ การลดความสูญเสียเพื่อเพิ่มคุณภาพของสินค้า ครับ 🌿🎉🌐

ขอบคุณ บริษัท ซีวิค อโกรเทค จำกัด ด้วยครับ

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เป็นการแข่งขันในการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้า ทำให้สามารถได้กำไรในการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งง่ายกว่าการขึ้นราคาสินค้ามาก เทคนิคการลดต้นทุนทั้งในและนอกกระบวนการผลิตมีอยู่หลายวิธี MUDA MURI MURA

เป็นเทคนิคแนวคิดของประเทศญี่ปุ่นในการบริหารงาน Muda หรือความสูญเปล่า อาจเกิดได้หลายลักษณะ เช่น ความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอ การเคลื่อนย้าย การปรับเปลี่ยน การทำใหม่ การถกเถียง ความสูญเปล่าทั้ง 8 ประการ (7+1 wastes)

ความสูญเปล่าที่ 1 ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)

ความสูญเปล่าที่ 2 ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตของเสีย (Defect)

ความสูญเปล่าที่ 3 ความสูญเสียที่เกิดจากการล่าช้าหรือการรอคอย (Delay or Waiting)

ความสูญเปล่าที่ 4 ความสูญเสียที่เกิดจากการมีวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็น (Inventory / working – process)

ความสูญเปล่าที่ 5 ความสูญเสียที่เกิดจากการขนส่งหรือขนย้าย (Transport)

ความสูญเปล่าที่ 6 ความสูญเสียเกิดจากการกระบวนการผลิต (Process)

ความสูญเปล่าที่ 7 ความสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion)

ตามทฤษฎีเดิม 7 wastes ได้มีเพิ่มความสูญเปล่าตัวที่ 8 (ความสูญเปล่า 7+1 ประการ)

ความสูญเปล่าที่ 8 การใช้คนไม่เป็น (Underutilized people)

Mura หรือความไม่สม่ำเสมอ การลดความสูญเสียทั้ง 7+1 ประการ งานที่มีความไม่สม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นในเรื่องปริมาณงาน ทำให้เกิดความไม่สม่ำเสมอของผลงานตามไปด้วย และความไม่มีมาตรฐานของการทำงาน

Muri หรือการฝืนทำ การฝืนทำสิ่งใด ๆ ก็ตามมักทำให้เกิดผลกระทบบางอย่างในระยะยาว

7waste

สรุปคือ MUDA ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น MURI ความยากลำบากความไม่เป็นธรรมชาติ และ MURA ความไม่สม่ำเสมอในการทำงาน ความหมายรวมคือการเปรียบเทียบระหว่าง จุดประสงค์ (สิ่งที่ต้องการ) กับวิธีการ (วิธีที่จะทำให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ) วิธีการต่างเกินไปน้อยเกินไปหรือไม่สม่ำเสมอก็จะทำให้เกิดความสูญเปล่าได้ทั้งสิ้น ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ว่าจะมีแนวทางป้องกันแก้ไขด้วยวิธีการง่ายๆ ได้อย่างไรและสามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลเกิดประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานเพิ่มขึ้น การลดความสูญเสียทั้ง 7+1 ประการ หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการทำงานได้อย่างเป็นระบบและเห็นผลได้อย่างแน่นอน เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหากับพนักงานในระดับปฏิบัติการและการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ในการแก้ไขปัญหาด้วยหลักการ 7 Waste เป็นอย่างดีอีกด้วย

หัวข้อการอบรม

1. หลักการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมและงานบริการในปัจจุบัน

2. “กำไร” ขององค์กรเกิดขึ้นจากสิ่งใด

3. ความหมายและความสำคัญของคำว่า “ต้นทุน”

4. ตัวชี้วัดการผลิตที่สำคัญ ที่ต้องควบคุม

5. Big 6 losses ของเครื่องจักรและการผลิต
6. ความท้าทายที่จำเป็นต้องมุ่งเน้นที่ “ความสูญเสีย”

7. ความหมายของหลักการลดต้นทุนด้วย “7+1 Waste’

8. แนวความคิดหลักเกี่ยวกับความสูญเปล่าและต้นทุน

            ความสูญเปล่าที่ 1 ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)

ความสูญเปล่าที่ 2 ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตของเสีย (Defect)

ความสูญเปล่าที่ 3 ความสูญเสียที่เกิดจากการล่าช้าหรือการรอคอย (Delay or Waiting)

ความสูญเปล่าที่ 4 ความสูญเสียที่เกิดจากการมีวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็น (Inventory / working – process)

ความสูญเปล่าที่ 5 ความสูญเสียที่เกิดจากการขนส่งหรือขนย้าย (Transport)

ความสูญเปล่าที่ 6 ความสูญเสียเกิดจากการกระบวนการผลิต (Process)

ความสูญเปล่าที่ 7 ความสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion)

ตามทฤษฎีเดิม 7 wastes ได้มีเพิ่มความสูญเปล่าตัวที่ 8 (ความสูญเปล่า 7+1 ประการ)

ความสูญเปล่าที่ 8 การใช้คนไม่เป็น (Underutilized people)

9. เทคนิคการวิเคราะห์ความสูญเสียด้วย Flow diagram อย่างง่าย

10. การประยุกต์ใช้เครื่องมือ ไคเซ็น, Visual control และ Poka Yoke เพื่อลดความสูญเสีย

11. เทคนิคของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องด้วยหลัก PDCA เพื่อลดความสูญเปล่าในการทำงาน

12. ตัวอย่างต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในการลด Waste ขององค์กรอื่นๆ

Work Shop1 “ระดมสมองเพื่อวิเคราะห์ความสูญเสีย 7+1 wasteในการทำงาน”

Work Shop2 “ใจเขาใจเรากับคุณภาพที่ลูกค้าต้องการ”

Work Shop3 “มาสร้างเป้าหมายการทำงานร่วมกันด้วยการทำงานเป็นทีม”

-แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถามตอบ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *