21 ธันวาคม 2567: อาจารย์ ดร.ไมตรี บุญขันธ์ ได้ทำการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ💜💪💗“การสร้างความปลอดภัยในการทำงาน” ✌😊🌹ครับ
ขอบคุณ บริษัท แปซิฟิคอีเอ็นจี (1996) จำกัด ด้วยครับ
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะลักษณะการทำงาน ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการทำงาน อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องจักรโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจาก มาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลง
ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติภัยต่างๆอันจะเกิดแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน ซึ่งก็คือ สภาพการทำงานที่ถูกต้องโดยปราศจาก “อุบัติเหตุ” ในการทำงานนั่นเอง หลักสูตรนี้จึงได้ถูกออกแบบให้สร้างจิตสำนึกให้กับผู้เข้าอบรม เพื่อให้อุบัติเหตุในการปฏิบัติงานเป็นศูนย์ และลดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย เพื่อลดผลกระทบ กระเทือนต่อการทำงาน ที่จะทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ จากการเกิดอุบัติเหตุ ต่อไป
หัวข้อการอบรม
1.แนวโน้มอุบัติเหตุในการทำงานของภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย
2.การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
3.ความหมายของความปลอดภัยและผลกระทบจากอุบัติเหตุในการทำงาน
3.1 ความปลอดภัยคืออะไร
3.2 ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน
3.3 ผลกระทบที่เกิดต่อตนเองและครอบครัว
3.4 ผลกระทบต่อสังคมและส่วนรวม
4.การกระทำที่ไม่ปลอดภัยและความประมาท คือ 85% ของอุบัติเหตุในการทำงานที่เกิดจากคน
5.สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย มีลักษณะแบบใด?
6.ประเภทของเครื่องจักรที่ทำให้เกิดอันตราย
6.1 อันตรายเชิงกล
6.2 อันตรายที่ไม่เชิงกล
7.ความสำคัญของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
8.กฎแห่งความปลอดภัยในการทำงาน
9.กิจกรรมการสร้างจิตสำนึกในการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน
9.1 การสำรวจความพร้อมและเตือนตัวเองก่อนการทำงาน
9.2 การทำ KYT เพื่อหยั่งรู้ความไม่ปลอดภัย
9.3 การตรวจความไม่ปลอดภัย
Workshop: วิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ และแนวทางป้องกันและแก้ไขเชิงรุก
Workshop: ฝึกสร้างจิตสำนึกหยั่งรู้ความปลอดภัยในการทำงาน
กลุ่มเป้าหมาย
หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป
รูปแบบการสัมมนา
การบรรยาย 50 %
เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 40 %
กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 10 %
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการของการทำงานด้วยความปลอดภัยอย่างถูกต้อง
2.ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการของการทำงานอย่างปลอดภัยไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น อย่างปลอดภัย
4.ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยและทำงานไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
5.ผู้เข้าอบรมมีสำนึกการรักองค์กรมากขึ้น