15 กรกฎาคม 2567: อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์ วันนี้อบรมเชิงปฏิบัติการ 🎄🌹🎁 “เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพแบบใหม่ 7 ชนิด” รุ่นที่ 2 ❤🎀🎊 ครับ
#NewQC7Tools
ขอบคุณ บริษัท โอกาวา เอเซีย จำกัด ด้วยครับ
เครื่องมือจัดการคุณภาพใหม่ 7 ชนิด (The 7 New QC Tools) เกิดจากสถาบัน JUSE ในญี่ปุ่น ที่ได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาเครื่องมือการจัดการด้านคุณภาพเพื่อให้ผู้บริหารใช้ สำหรับทำการติดตามการจัดการคุณภาพ ต่อเนื่องจากเครื่องมือพื้นฐานการจัดการคุณภาพ 7 แบบ ที่มีอยู่เดิมเพราะเครื่องมือเดิมนั้นเหมาะกับการแก้ปัญหา ใน 1972 จึงเริ่มมีการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือใหม่ เพื่อให้ผู้บริหารกับพนักงานวางแผนใช้ ได้เป็น เครื่องมือจัดการคุณภาพใหม่ 7 ชนิด (The 7 New QC Tools) โดยรวบรวมเครื่องมือที่มีมาเป็นชุดใหม่ที่ใช้สำหรับวางแผนป้องกันปัญหา เพื่อให้ได้นโยบายและมาตรการที่ตรงกันชัดเจนเป็นรูปธรรม นำมาแก้ปัญหาทางด้านคุณภาพ (QC Problem) ตามขั้นตอนของวงจรในการบริหาร (Wheel of P-D-C-A) โดยเริ่มตั้งแต่การระบุปัญหา การหาสาเหตุ การตั้งเป้าหมาย รวมถึง ตรวจติดตามผลการแก้ปัญหา ช่วยให้เกิดแนวความคิด วางแผนการแก้ไข ได้อย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย
- แผนภูมิการจัดกลุ่มความคิด (Affinity Diagram) ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นคำพูด ความรู้สึกจากผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง นำมาจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อแยกกลุ่มของข้อมูลไว้สำหรับการนำมาวิเคราะห์ในขั้นต่อไป โดยตั้งคำถามว่า “ทำไม” “เพราะอะไร” จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นในองค์กร (ทำไมถึงไม่บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย?)
- แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relation Diagram) หลังจากจัดกลุ่มข้อมูล (Affinity Diagram) แล้ว ผู้บริหารควรมุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข/ป้องกันเพื่อใช้ในการวางแผนเชิงรุก และเชื่อมโยงกลุ่มข้อมูลที่ได้จากการจัดกลุ่มความคิด (Affinity Diagram) แต่ละกลุ่มแต่ละความคิด แสดงข้อมูลที่เป็นเหตุ-ข้อมูลที่เป็นผลและเชื่อมโยงจนกระทั่งทราบถึงต้นตอหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Root Causes) เพื่อนำไปหาแผนงานแนวทางหรือวิธีการป้องกันปัญหาให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายต่อไป
- แผนภูมิต้นไม้ตัดสินใจ (Tree Diagram/ Decision Tree) ใช้เพื่อหาแนวทางแก้ไขป้องกัน ในรูปของแผนงานหรือวิธีการ โดยตอบคำถามว่า “ทำอย่างไร” เพื่อมุ่งสู่วัตถุประสงค์/เป้าหมายที่อยากเป็น โดยการมุ่งเน้นไปที่ต้นตอหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาจากแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relation Diagram)
- แผนภูมิเมตริกซ์ (Matrix Diagram) เป็นเครื่องมือที่ช่วยหาความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์/เป้าหมาย และแผนงาน/มาตรการ/วิธีการ ที่ได้จากการเสนอแนะขึ้นว่าแนวทางใดน่าจะมีความเป็นไปได้ มีความคุ้มค่า และส่งผลกระทบให้บรรลุถึงเป้าหมายได้ก่อน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด อย่างเต็มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล
- แผนภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเมตริกซ์ (Matrix Data Analysis Chart) เป็นเครื่องมือที่ใช้เปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmark) จากมุมมองของลูกค้าและเทียบกับคู่แข่งที่เป็นผู้นำในด้านสินค้า หรือบริการคล้ายๆกับองค์กรของเรา วิธีนี้จะทำให้เห็นภาพว่าองค์กรเราอยู่ในตำแหน่งใด (Positioning) เพื่อมองกลยุทธ์ในการบริหารจัดการที่เหมาะสมต่อไปอย่างถูกทิศทาง
- แผนภาพทางเลือกตัดสินใจ เพื่อบริหารความเสี่ยง (Process Decision Program Chart) เป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยหาแนวทางซึ่งอาจเป็นแผนงาน/มาตรการ/วิธีการ โดยมุ่งเน้นไปยังอุปสรรคที่น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อทราบถึงทุกอุปสรรคในกระบวนการก็สามารถหาแนวทางในการขจัดอุปสรรคทุกประเภทที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต คล้ายกับการมีแผนปฏิบัติการฉุกเฉินรองรับไว้เผื่อสำหรับการเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้องค์กรมีความมั่นใจต่อการเผชิญกับ
- แผนภูมิลูกศร (Arrow Diagram) เป็นการวางแผนงานที่มีการกำหนดกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา และลำดับก่อนหลังของแต่ละกิจกรรมว่ากิจกรรมใดควรทำก่อน-หลัง เพื่อที่จะบริหารโครงการหรือแผนงานให้บรรลุเป้าหมายได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
เครื่องมือจัดการคุณภาพใหม่ 7 ชนิด (The 7 New QC Tools) เป็นเครื่องมือที่ทางประเทศญี่ปุ่นพัฒนาเพิ่มเติมจาก เครื่องมือพื้นฐานจัดการคุณภาพ 7 แบบ (The 7 Basic QC Tools) ให้มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารระดับหัวหน้า/ผู้จัดการแผนก/ฝ่ายขึ้นไป ใช้ช่วยในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นคำพูด ความรู้สึกจากผู้บริหาร เพื่อวางแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ ในเชิงป้องกันหรือเชิงรุก โดยการระดมความคิดและข้อเท็จจริงในอดีต รวมถึงการมองภาพความต้องการในอนาคตของลูกค้าและคู่แข่งมาใช้เพื่อกำหนดแผนงาน/โครงการในการรักษาฐานลูกค้าเดิม ขยายฐานลูกค้าใหม่ เพิ่มยอดขาย และลดต้นทุนขององค์กรได้อย่างเป็นระบบ การนำไปใช้ในการวางแผนงานโครงการหรือกำหนดมาตรการ ควรที่ผู้ใช้ต้องศึกษาวัตถุประสงค์ ความสามารถ และเป้าหมายของเครื่องมือแต่ละตัว ให้เข้าใจมากที่สุดเพื่อที่จะสามารถคัดเลือกนำเอาเครื่องมือแต่ละตัวมาใช้ในงานได้อย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
เพื่อทราบถึงเครื่องมือจัดการคุณภาพ ทั้ง 14 ชนิด หรือ 14 Tools
เพื่อสร้างแนวคิดในการใช้ New QC 7 Tools อย่างถูกต้อง
เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง
หัวข้อการอบรม
-องค์ประกอบของธุรกิจ ต้นทุน กำไร และรายได้
- ความเป็นมาและความหมายของระบบคุณภาพ
กลุ่มข้อมูลเชิงปริมาณ: สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (Quantitative Data)
กลุ่มข้อมูลเชิงคุณภาพ : ข้อมูลที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (Qualitative Data) - เรียนรู้การใช้เครื่องมือ QC 7 Tools แบบเดิมในการแก้ไขปัญหา
- การใช้เครื่องมือ New QC 7 Tools ในการวิเคราะห์ปัญหาแบบต่างๆ
- แผนผังกลุ่มเครือญาติ (Affinity Diagram)
- แผนผังกลุ่มเชื่อมโยง (Relation Diagram)
- แผนผังต้นไม้ (Tree Diagram)
- แผนผังลูกศร (Arrow Diagram)
- แผนผังตาราง (Matrix Diagram)
- แผนผังการวิเคราะห์ข้อมูล (Matrix Data Analysis)
- แผนผังขั้นตอนการตัดสินใจ (Process Decision Program Chart)
- แนวคิดของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA
- การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วย QC Story
- เรียนรู้ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาผ่านการระดมสมอง (Small group activity)
กลุ่มเป้าหมาย
หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป