17 สิงหาคม 2566: อาจารย์ ดร.ไมตรี บุญขันธ์ วันนี้สนุกกันมาก .. “แนวคิดและการตรวจประเมิน 5 ส อย่างมีประสิทธิภาพ” ครับ
ขอบคุณ บริษัทไทย นิปปอน เซกิ จำกัด ด้วยครับ
กิจกรรม 5ส เป็นเรื่องของการจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานที่ทำงาน เป็นพื้นฐานของการทำงานที่คุณภาพ ประสิทธิภาพ และสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดีขึ้นและปลอดภัย รวมถึงเป็นพื้นฐานของกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตอื่นๆ ได้อีกด้วย วิธีการหนึ่งในการกระตุ้น ส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กร ร่วมมือร่วมใจทำกิจกรรม 5ส และผลักดันให้ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง นั่นคือการ ตรวจประเมินกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอซึ่งเทคนิคในการตรวจนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึง ทั้งการให้คะแนน การให้คำแนะนำเพื่อการปรับปรุงพื้นที่ การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรม 5ส จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และฝึกเทคนิคในการตรวจประเมินกิจกรรม 5ส ได้อย่างถูกต้อง สำหรับผู้ที่ได้รับคัดเลือกหรือแต่งตั้งให้เป็นคณะทำงานในกิจกรรมนี้ กิจกรรม 5 ส ดังที่ทราบว่าประกอบด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ (สร้างมาตรฐาน)และสร้างนิสัย ซึ่งการดำเนินกิจกรรม 5 ส ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องให้ พนักงานเข้าใจและเห็นประโยชน์ของการทำกิจกรรม 5 ส. ดังนั้นการส่งเสริมและผลักดันให้พนักงานทุกคนมีจิตสานึก และความตระหนักในการมีส่วนร่วมในกิจกรรม 5 ส. จะนำไปสู่ผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามนโยบายและเป้าหมาย ที่บริษัทกำหนด และนอกจากการอบรมให้พนักงานทุกคนทราบถึงขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 5 ส แล้ว สิ่งที่สำคัญ คือการกำหนดขอบเขตในการตรวจประเมินที่ชัดเจน ก็จะช่วยสร้างให้กิจกรรม 5ส. นี้อยู่ได้อย่างยั่งยืนนั่นเองซึ่งเทคนิคในการตรวจนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึง ทั้งการให้คะแนน การให้คำแนะนำเพื่อการปรับปรุงพื้นที่ การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรม 5ส จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และฝึกเทคนิคในการตรวจประเมินกิจกรรม 5ส ได้อย่างถูกต้อง สำหรับผู้ที่ได้รับคัดเลือกหรือแต่งตั้งให้เป็นคณะทำงานในกิจกรรมนี้ กิจกรรม 5 ส ดังที่ทราบว่าประกอบด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ (สร้างมาตรฐาน)และสร้างนิสัย ซึ่งการดำเนินกิจกรรม 5 ส ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องให้ พนักงานเข้าใจและเห็นประโยชน์ของการทำกิจกรรม 5 ส. ดังนั้นการส่งเสริมและผลักดันให้พนักงานทุกคนมีจิตสานึก และความตระหนักในการมีส่วนร่วมในกิจกรรม 5 ส. จะนำไปสู่ผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามนโยบายและเป้าหมาย ที่บริษัทกำหนด และนอกจากการอบรมให้พนักงานทุกคนทราบถึงขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 5 ส. แล้ว สิ่งที่สำคัญ คือการกำหนดขอบเขตในการตรวจประเมินที่ชัดเจน ก็จะช่วยสร้างให้กิจกรรม 5ส. นี้อยู่ได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ในเรื่องหลักการตรวจที่ดี เทคนิคการตรวจ วิธีการตรวจ การให้คะแนน
และการเสนอแนะข้อปรับปรุง
2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะในการตรวจโดยการฝึกปฏิบัติ
3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้เทคนิคการดำเนินการกิจกรรม 5ส
4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ใน
หน่วยงานของตนเองได้
5.เพื่อสร้างจิตสำนึกและการหาวิธีการทำกิจกรรม 5ส ในการทำงาน
6.เพื่อสร้างแนวคิดในการประยุกต์ใช้ 5ส ได้อย่างถูกต้อง
หัวข้อการอบรม
1. หลักการ 5ส และขั้นตอนการดำเนินโครงการ
เนื้อหาโดยสรุป : อธิบายทบทวนหลักการ 5ส และขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมตามแผน โครงการที่องค์กรมีอยู่ด้วยหลัก PDCA
2. การส่งเสริมกิจกรรม 5ส ในองค์กรสำหรับคณะกรรมการดำเนินงาน
เนื้อหา โดยสรุป : อธิบายถึงเครื่องมือในการส่งเสริมการทำกิจกรรม 5ส ให้กับพนักงาน, การประชาสัมพันธ์ 5ส, การนำกิจกรรม 5ส เข้าไปปรับใช้ในหน่วยงาน, เทคนิคการดำเนินกิจกรรมอย่างถูกต้องและถูกขั้นตอน, ปัญหา อุปสรรค และวิธีการประกวดพื้นที่ในกิจกรรม 5ส, การลงมือปฏิบัติกิจกรรม 5ส ได้อย่างมีประสิทธิผล
4. การจัดทำเอกสารระบบ 5ส / การจัดทำมาตรฐาน 5ส
เนื้อหา โดยสรุป : อธิบายถึงหลักการจัดทำเอกสารในระบบ 5ส, การสร้างแบบฟอร์มต่างๆ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรม 5ส, การควบคุมเอกสารในระบบ 5ส, การจัดทำมาตรฐาน 5ส ของหน่วยงาน และของบริษัท
5. เทคนิคการตรวจประเมิน 5ส
เนื้อหา โดยสรุป : อธิบายถึงหลักการตรวจติดตาม บทบาทในการเตรียมตัวก่อนเข้าทำการตรวจประเมิน เช่น ก่อนวันตรวจ ในวันตรวจประเมิน และการสรุปผลการตรวจประเมิน รวมถึงวิธีการตรวจประเมินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้คณะทำงานเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับองค์กรของตนเอง
บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการกิจกรรม 5ส
5ส และหัวใจ ของแต่ละ ส
หลักการ และเทคนิคการตรวจ 5ส พร้อมตัวอย่างแบบฟอร์มการตรวจ
การออกแบบฟอร์มการตรวจ 5ส ในพื้นที่ทำงานจริง
หลักการให้คะแนน และแนวทางการสรุปผลคะแนน หลักและเทคนิคในการตรวจพื้นที่
กรณีศึกษาองค์กรที่ประสบความสำเร็จ หรือฝึกตรวจพื้นที่ 5ส สถานที่จริง
6. Workshop: การตรวจประเมิน 5ส ในพืนที่จริง