เทคนิคการวิเคราะห์สาเหตุและจัดการปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

19 กันยายน 2566: อาจารย์ ดร.ไมตรี บุญขันธ์ ได้ทำการฝึกอบรมร่วมกับผู้บริหาร…🐠🎊💕“เทคนิคการวิเคราะห์สาเหตุและจัดการปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ” ครับ..🎉✌🚀

ขอบคุณ บริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยครับ

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เป็นการแข่งขันในการสร้างผลกำไรและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญของผู้ประกอบการทั้งด้านการผลิตและบริการ การให้ผู้ปฏิบัติงานทั้งในระดับผู้บริหาร หัวหน้างาน และหัวหน้าฝ่ายผลิต ได้เรียนรู้กระบวนการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ รู้จักเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ มีการเตรียมการสำหรับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตหลังจากที่ได้ทำการตัดสินใจไปแล้ว นอกจากการเรียนรู้เทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาแล้ว ผู้ปฏิบัติงานควรได้เรียนรู้ถึงเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการบริหารการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างสมบูรณ์แบบ เช่น เทคนิคการวิเคราะห์สาเหตุตามหลัก 4M (สาเหตุของปัญหาจาก คน, เครื่องจักร, วัตถุดิบ และวิธีการ) เทคนิคในการตัดสินใจเลือกวิธีในการแก้ไขในระดับต่าง เช่น การแก้ไขปัญหาระยะสั้น ระยะกลาง และการวางแผนแก้ไขในอนาคต รวมถึงเทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจส่งผลต่อการผลิต เป็นต้น ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เช่นลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาความเสียหาย ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไขการรอคอยงาน การขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับบุคลากรภายในได้

หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการทำงานได้อย่างเป็นระบบและเห็นผลได้อย่างแน่นอน เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหากับผู้ปฏิบัติงานและฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ได้พูดได้คุยกันมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาประจำวันได้เป็นอย่างดีและยังสอดแทรกแนวคิดการปรับปรุงงานที่มีประสิทธิภาพหลังการแก้ไขปัญหา ตามหลักการ PDCA ให้กับผู้เข้าอบรม อีกด้วย

หัวข้อการอบรม

  1. การมองปัญหาของแต่ละบุคคล
  2. หลักการวิเคราะห์ปัญหาและจัดลำดับการแก้ไขเบื้องต้น
  3. หลักการวิเคราะห์องค์ประกอบของ สาเหตุหลัก สาเหตุรองและสาเหตุย่อย ของ Cause and Effect diagram ตามหลักการ 4M Change
  4. การค้นหาสาเหตุของปัญหาด้วยเทคนิค 3 G (Genba : สถานที่จริง,Genbutsu : ของจริง, Genjitsu : สถานการณ์จริง)
  5. การพิสูจน์ยืนยันสาเหตุของปัญหา ด้วยเทคนิค 2 G ที่เหลือ (Genri : หลักการ/ทฤษฎี, Gensoku : ระเบียบกฎเกณฑ์)
  6. เทคนิคการจัดลำดับการแก้ไขปัญหาที่หน้างานอย่างง่าย
    7.ปัญหา คืออะไร / สาเหตุหลักของปัญหา
    8.การตัดสินใจ คืออะไร / ประเภทของการตัดสินใจ

7. กระบวนการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
 การวิเคราะห์ปัญหาและข้อมูล (Problem Analysis)
 การตัดสินใจเลือกวิธีที่จะแก้ปัญหา (Decision Making)
 การนำไปปฏิบัติ (Implementation Phase)
 การตรวจสอบ (Monitoring Phase)

8. เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจนและไม่มีโครงสร้างชัดเจน
 Cause and Effect Analysis (CE analysis)
 Why-Why Analysis
 Tree diagram
 Relations diagram

  • Workshop 1 การแก้ไขปัญหาด้วยการทำงานเป็นทีม
  • Workshop 2 การวิเคราะห์ผลลัพธ์หลังการแก้ไข
  • Workshop 3 ระดมสมองเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *