12 มีนาคม 2564: อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์ ได้ทำการฝึกอบรมหลักสูตร 😊✌🔩” การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย Kaizen”💗💪🌐 ขอขอบคุณผู้เข้าอบรมทุกท่านด้วยครับ #หลักการง่ายๆเลิกลดเปลี่ยนและECRS #ไคเซ็นทำง่ายทำได้ทำเลย
ขอบคุณ #ด็อกเตอร์ฟิช Training และ บริษัท ไทยเซ็มคอน จำกัด ด้วยครับ
โดยหลักสูตรนี้จะช่วยให้เข้าใจการแนวคิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น เรียนรู้วิธีการค้นหาจุดที่ควรปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานไคเซ็นแนวทาง/เทคนิคการปรับปรุงงานด้วยเครื่องมือต่างๆ โดยมีตัวอย่างกรณีศึกษาการทำไคเซ็นในระดับองค์กรชั้นนำ เพื่อนำไปเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในงานของตนเองต่อไป ดังนั้นหากองค์กรได้มีการส่งเสริมสนับสนุนแนวคิด “KAIZEN” ดังที่กล่าวมาแล้ว องค์กรจะได้รับการพัฒนาโดยพนักงานทุกระดับและเป็นวัฒนธรรมในองค์กรอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ถึงแนวคิดและความเป็นมาของกิจกรรมข้อเสนอแนะของวิธีการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
หัวข้อการอบรม
1.ไคเซ็น คืออะไร? ทำไมจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนางาน
วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงความสำคัญและความหมายของวิธีการ
ปรับปรุงงานแบบไคเซ็นที่ส่งผลต่อตนเองและองค์กร
2.หลักการเขียนข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน
วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงหลักการเบื้องต้นในการนำไคเซ็น
มาใช้ในองค์กรรวมถึงข้อเสนอแนะวิธีการปรับปรุงงาน
3.การคิดนอกกรอบ ขั้นตอนและเครื่องมือในการปรับปรุงงาน
วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าถึงขั้นตอนในการปรับปรุงงานและเครื่อง
มือที่ก่อให้เกิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น
4.เทคนิคการแก้ไขปัญหา ด้วย PDCA แบบ ไคเซ็น
วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้ถึงสาเหตุของปัญหาในการจัดทำ
การปรับปรุงงานและสามารถวิเคราะห์ปัญหา พร้อมหาแนวทางในการแก้ไขที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด
5.วิธีการปรับปรุงงานโดยความคิดสร้างสรรค์ตามหลัก เลิก/ลด/เปลี่ยน และ ECRS
วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้ถึงเทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหา
โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสม
6.กรณีศึกษา และ Workshop “ล้านไอเดียเพื่อปรับปรุงงานและลดต้นทุน”
วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์ถึงปัญหาและ
แนวทางแก้ไขปัญหาจากตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง