19 พฤษภาคม 2565: อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์ กลับมาเมื่อคืนเพื่อออนไลน์วันนี้เลย..😊❤🌈 “การบริหารการผลิตสำหรับหัวหน้างานเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ” 🌐🚿🚁 ครับ
ขอบคุณ บริษัท พานาโซนิค แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยครับ
ในโลกการแข่งขันทางอุตสาหกรรมปัจจุบัน องค์กรธุรกิจต่างมุ่งแสวงหาแนวทางการผลิต, การบริหารกระบวนการที่จะสามารถตอบโจทย์ทางด้านการแข่งขันได้ ทั้งเรื่องคุณภาพ ต้นทุนการผลิต และระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตจนถึงการส่งมอบ ดังนั้นการบริหารการผลิตสำหรับหัวหน้างาน จึงมีความสำคัญอย่างมาก การบริหารจัดการได้ดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลย่อมจะทำให้ผลลัพธ์ Q C D (Quality, Cost, Delivery) เป็นที่พึงพอใจจนถึงเกินความคาดหมายของลูกค้าได้ ทำให้องค์กรสามารถแข่งขันได้และเติบโตอย่างยั่งยืน
ความสำเร็จทางด้านการบริหารงาน หมายถึงความสามารถในการผลิตสินค้าได้ตรงตามเป้าหมาย ทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด ความสามารถในการผลิตที่ถูกต้องนั้น ควรเทียบกับข้อสมมุติฐานที่กำลังการผลิตสม่ำเสมอ ตลอดระยะเวลาที่มีทั้งหมดของปี การปรับปรุงขบวนการทำงาน โดยใช้เครื่องมือที่ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบนั้น ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ แต่การขาดความรู้ ความเข้าใจ ที่จะส่งเสริมการทำงานให้บรรลุเป้าหมายในการทำงานของหัวหน้างาน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้กลไกลที่สำคัญขององค์กรคือ หัวหน้างานในทุกระดับ ที่เป็นผู้รับมอบนโยบายและแผนงานของผู้บริหาร นำไปปฏิบัติและควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายต่อไป หากบริษัทใดให้ความรู้เกี่ยวกับการทักษะด้านการจัดการให้กับ หัวหน้างานแล้วนั้น ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เช่นลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาความเสียหาย ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไข การรอคอยงาน การขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับบุคลากรภายในได้อีกด้วย
หลักสูตร “การบริหารการผลิตสำหรับหัวหน้างานยุคใหม่” จะกล่าวถึงสิ่งที่เป็นเรื่องธรรมดาๆ ที่ว่าด้วยวัตถุดิบ และขบวนการผลิต รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตามหลัก 4M (Man / Machine / Method /Materials) โดยจะเน้นการวิเคราะห์หาสาเหตุที่เป็นหัวใจของการผลิตให้ประสบผลสำเร็จตามแนวทางของ Kpi และแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว (Quick response management) รวมถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามหลักการ PDCA อย่างได้ผล เพื่อให้ได้คำตอบในเรื่องต้นทุน ผลกำไร และประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มหาศาลกับการบริหารงานทั้งในส่วนผลิต และการบริหารหลักขององค์กร