จิตสำนึกด้านคุณภาพ

17 พฤษภาคม 2566: อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์ วันนี้กับ..🌷🎉💕 “จิตสำนึกด้านคุณภาพ” ครับ 😍🚀💓

ขอบคุณ บริษัท โอเทค (ไทยแลนด์) จำกัด ด้วยครับ

คุณภาพของสินค้าหรือบริการคือสิ่งที่ทุกองค์กรต้องสร้างให้เกิดขึ้นในการทำงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้มากที่สุด การสร้างคนให้เข้าใจในการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพหรือที่เรียกว่ามี “จิตสำนึกคุณภาพ” เพราะถ้าเรามีพนักงานที่มีจิตสำนึกในการที่จะรักษาไว้ซึ่งคุณภาพ คิดถึงแต่การทำงานให้มีคุณภาพ การสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพจึงไม่ใช่สิ่งที่รอได้อีกต่อไป และเมื่อมีจิตสำนึกคุณภาพเกิดขึ้นแล้ว องค์กรยังจะสามารถพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆได้ง่ายและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น อีกด้วย

นอกจากนี้ปัญหาที่พนักงานต้องพบในแต่ละวันจะยิ่งทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ขาดแรงจูงใจในการทำงาน หากพนักงานได้เข้าใจกับความหมายของ “คุณภาพ” อย่างแท้จริงและรู้ถึงเทคนิควิธีการเทคนิคการสร้างคุณภาพในงานของตัวเองได้อย่างเข้าใจแล้ว ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เช่นลดต้นทุนการผลิต  ลดปัญหาความเสียหาย  ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไข  การรอคอยงานการขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ให้กับบุคลากรภายในได้ เป็นต้น

        หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการสร้าง “จิตสำนึกด้านคุณภาพในการปฏิบัติงาน” อย่างเป็นระบบและเห็นผลได้อย่างแน่นอน เป็นการรวบรวมเทคนิควิธีการ ที่ใช้แก้ไขปัญหาด้านคุณภาพให้กับพนักงานในระดับปฏิบัติการรวมถึงหัวหน้างาน และฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ในการลดความผิดพลาดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 

วัตถุประสงค์

1.เพื่อสร้างแนวคิดในการสร้างคุณภาพและลดความสูญเสียในการผลิต อย่างเป็นระบบ

2.เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาคุณภาพอย่างเป็นมีรูปแบบ

3.เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง

4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรม มีความรู้เกี่ยวกับจิตสำนึกด้านคุณภาพ จิตสำนึกที่ดีในการทำงาน

หัวข้อการอบรม

1.  แนวคิดของคุณภาพในโลกแห่งการแข่งขัน

2.  การประกันคุณภาพ  ความหมายและความสำคัญของคำว่า “คุณภาพ”

3.  การบริหารคุณภาพ – ระบบคุณภาพที่ใช้ควบคุมในการทำงาน – ปัจจัย 4 ด้าน ที่ส่งผลต่อคุณภาพ Workshop1: วิเคราะห์ปัจจัย 4 ด้านที่ส่งผลต่อคุณภาพในการทำงาน

4.  แนวคิดของลูกค้า  – จิตสำนึกและจิตสำนึกคุณภาพคืออะไร – สิ่งที่ลูกค้าต้องการจากงานของเรา – กลยุทธ์เพื่อสร้างความตระหนักในคุณภาพให้กับพนักงาน

5.  การสร้างความพอใจให้กับลูกค้าภายใน และลูกค้าภายนอก

6.  แนวทางการสร้างความตระหนักในคุณภาพ – เทคนิคการลดความผิดพลาดในการทำงานเบื้องต้น 10 ประการ Workshop2: ป้องกันความผิดพลาดจากการทำงานเบื้องต้น

7. การบริหารให้เกิดการควบคุมงานด้วยตนเอง – ระดับของการความคุมความผิดพลาดในการทำงานทั้ง 7 ระดับ

8. การกำหนดตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ  – ผลกระทบต่อการทำงานที่ขาด “คุณภาพ” ทั้งต่อหน่วยงานและองค์กร Workshop3: ระดมสมอง “ผลกระทบของงานที่ขาดคุณภาพต่อลูกค้าและบริษัทของเรา” ผ่านการใช้บัตรความคิด

9. การระดมสมองในการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างคุณภาพในการทำงาน Workshop4: Group coaching activity “สร้างคุณภาพก่อนส่งถึงมือลูกค้า” 10.  สรุป/ตอบข้อซักถาม

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *