“จิตสำนึกความปลอดภัยสำหรับหัวหน้างาน”

22 เมษายน 2565: อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์ ได้ฝึกอบรมออนไลน์ “จิตสำนึกความปลอดภัยสำหรับหัวหน้างาน” ครับ

ขอบคุณ บริษัท ฤทธา จำกัด ด้วยครับ

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะลักษณะการทำงาน ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการทำงาน อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องจักรโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจาก มาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลง
ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติภัยต่างๆอันจะเกิดแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน ซึ่งก็คือ สภาพการทำงานที่ถูกต้องโดยปราศจาก “อุบัติเหตุ” ในการทำงานนั่นเอง หลักสูตรนี้จึงได้ถูกออกแบบให้สร้างจิตสำนึกให้กับผู้เข้าอบรม เพื่อให้อุบัติเหตุในการปฏิบัติงานเป็นศูนย์ และลดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย เพื่อลดผลกระทบ กระเทือนต่อการทำงาน ที่จะทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ จากการเกิดอุบัติเหตุ ต่อไป

วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจถึงความสำคัญของความปลอดภัย
เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดอุบัติเหตุ อย่างเป็นระบบ
เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ของความไม่ปลอดภัยอย่างเป็นมีรูปแบบ
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน ด้านความปลอดภัยให้แก่บริษัทอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการทำงานให้ปลอดภัยมากขึ้น
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานให้เกิดความปลอดภัย

หัวข้อการอบรม
1.แนวโน้มอุบัติเหตุในการทำงานของภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย

  1. การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
    3.ความหมายของความปลอดภัยและผลกระทบจากอุบัติเหตุในการทำงาน
    3.1 ความปลอดภัยคืออะไร
    3.2 ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน
    3.3 ผลกระทบที่เกิดต่อตนเองและครอบครัว
    3.4 ผลกระทบต่อสังคมและส่วนรวม
  2. การกระทำที่ไม่ปลอดภัยและความประมาท คือ 85% ของอุบัติเหตุในการทำงานที่เกิดจากคน
  3. สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย มีลักษณะแบบใด?
  4. ประเภทของเครื่องจักรที่ทำให้เกิดอันตราย
    5.1 อันตรายเชิงกล
    5.2 อันตรายที่ไม่เชิงกล
  5. ความสำคัญของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
  6. กฎแห่งความปลอดภัยในการทำงาน
  7. กิจกรรมการสร้างจิตสำนึกในการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน
    8.1 การสำรวจความพร้อมและเตือนตัวเองก่อนการทำงาน
    8.2 การทำ KYT เพื่อหยั่งรู้ความไม่ปลอดภัย
    8.3 การตรวจความไม่ปลอดภัย
  8. Workshop: วิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ และแนวทางป้องกันและแก้ไขเชิงรุก
  9. Workshop: ฝึกสร้างจิตสำนึกหยั่งรู้ความปลอดภัยในการทำงาน

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *