การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

15 กรกฎาคม 2566: อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์ วันนี้มาออนไลน์บ้าง..🎊🎶💐 “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน” ครับ 💕🚀🌵

ปัจจุบันการแข่งขันด้านการผลิตที่มีความรุนแรง ทำให้บริษัทใดที่ทำให้เครื่องจักรมีการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ย่อมก่อให้เกิดความได้เปรียบในเชิงธุรกิจมากกว่าคู่แข่ง และยังเป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิต เป็นการใช้เวลาในการผลิตได้อย่างคุ้มค่า จากการที่เครื่องจักรเป็นปัจจัยหลักในการผลิต ซึ่งหากเครื่องจักรเกิดการขัดข้องเดินไม่เต็มสมรรถนะ หรือหยุดเสียหายโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งมอบที่ล่าช้าและ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ต่ำลง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของพนักงานอันเนื่องมาจากการควบคุม เครื่องจักรที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทำการป้องกันเพื่อไม่ให้เครื่องจักรขัดข้อง หรือหยุดโดยการใช้ระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เพื่อให้เครื่องจักรมีความพร้อมในการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
แผนกซ่อมบำรุงเครื่องจักรของโรงงาน มักจะพบปัญหาการขาดอะไหล่ในการนำมาซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักร เช่น บางครั้งมีอะไหล่สำรองในส่วนที่ไม่จำเป็นของเครื่องจักร หรืออาจจะมีอะไหล่ที่สำรองไว้มากหรือน้อยเกินไป เป็นต้น ดังนั้น การที่มีอะไหล่สำหรับการซ่อมตามที่ต้องการตามกำหนดเวลา การจัดเตรียมการสำรองอะไหล่ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงอย่างมีระบบ จึงเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่ทำให้สามารถลดปัญหาการขาดแคลนอะไหล่ และซ่อมบำรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงเวลา
โดยหลักสูตรนี้จะช่วยเน้นให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อการผลิต การสร้างจิตสำนึกต่อการรักษาผลผลิตของบริษัท และเน้นการวางแผนซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน PM (Preventive Maintenance) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วยต้นทุนที่ต่ำและคุ้มค่า โดยใช้ข้อมูลและประวัติของเครื่องจักรเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ รวมทั้งการคิดอัตราประสิทธิภาพการผลิตของเครื่องจักรได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ถูกต้อง
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริการซ่อมบำรุง
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจธรรมชาติของกระบวนการผลิตด้วยเครื่องจักร
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีแนวคิดในการลดความสูญเสียของเครื่องจักรในระบบการผลิต

หัวข้อการอบรม

  1. แนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
  2. การมองปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหาของเครื่องจักร
  3. รู้จักกับความหมายและการบำรุงรักษาแบบต่างๆ
    3.1 การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
    3.2 การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Individual Improvement)
    3.3 การบำรุงรักษาเชิงวางแผน (Planned Maintenance)
    3.4 การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ (Quality Maintenance)
    3.5 การบำรุงรักษาทวีผล (Productive Maintenance)
  4. การเพิ่มประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุงเครื่องจักร จากพนักงานหน้าเครื่องและช่างเทคนิค
  5. การวัดประสิทธิภาพและวิเคราะห์การใช้งานเครื่องจักรร่วมกันด้วยค่า OEE, MTBF, MTTR
  6. การวางแผนซ่อมบำรุงและอะไหล่ที่ทุกคนมีส่วนร่วม
  7. 7.การระดมสมองเพื่อช่วยให้งานซ่อมบำรุงประสบความสำเร็จ
  8. Workshop การซ่อมบำรุงที่ทุกคนมีส่วนร่วม

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *