การวิเคราะห์ต้นตอของปัญหา

4 กรกฏาคม 2566: อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์ สวัสดีวันอังคาร..🎉🎊🌷 “การวิเคราะห์ต้นตอของปัญหา”..ครับ 🚀⚡😱

ขอบคุณ บริษัท ปตท. จำหน่ายก๊าซธรรมชาติ จำกัด ด้วยครับ

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เป็นการแข่งขันในการสร้างผลกำไรและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญของผู้ประกอบการทั้งด้านการผลิตและบริการ ซึ่งการให้ผู้ปฏิบัติงานทั้งในระดับผู้บริหาร หัวหน้างาน และฝ่ายปฏิบัติการ ได้เรียนรู้กระบวนการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ รู้จักเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ มีการเตรียมการสำหรับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตหลังจากที่ได้ทำการตัดสินใจไปแล้ว นอกจากการเรียนรู้เทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาแล้ว ผู้ปฏิบัติงานควรได้เรียนรู้ถึงเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสมบูรณ์ เช่น เทคนิคการวิเคราะห์สาเหตุตามหลัก 4M (สาเหตุของปัญหาจาก คน, เครื่องจักร, วัตถุดิบ และวิธีการ) เทคนิคในการตัดสินใจเลือกวิธีในการแก้ไขในระดับต่าง เช่น การแก้ไขปัญหาระยะสั้น ระยะกลาง และการวางแผนแก้ไขในอนาคต รวมถึงเทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจ เป็นต้น ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เช่นลดต้นทุนการดำเนินงาน ลดปัญหาความเสียหาย ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไขการรอคอยงาน การขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับบุคลากรภายในได้
ปัญหาจากความสูญเปล่าไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในกระบวนการผลิตเท่านั้น กิจกรรมที่เกิดขึ้นในสำนักงานที่ทำอยู่ประจำทุกวันก็มีความสูญเปล่าที่แอบแฝงเป็นจำนวนมาก ความสูญเปล่าเหล่านี้มีผลทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น (จ่ายแล้วเกิดผลน้อยหรือจ่ายแล้วไม่มีผลตอบแทน) และมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน เช่น ความล่าช้า ความผิดพลาด ฯลฯ ซึ่งล้วนส่งผลเสียต่อองค์กร หากพนักงานในองค์กรตกอยู่ในสภาพเช่นนี้

  • หาเอกสารที่ต้องการใช้ไม่พบ โดยเฉพาะเวลาเร่งรีบ
  • แม้จะจัดโต๊ะเรียบร้อย แต่ก็เปลี่ยนเป็นรก รุงรัง ในเวลาอันรวดเร็ว
  • มีงานแทรกมากจนวางแผนการทำงานไม่ได้
  • ช่วงปลายเดือน-ต้นเดือนมักต้องทำงานล่วงเวลา (Over Time) เสมอ
  • ยุ่งจนไม่มีเวลาพัก
  • ความร่วมมือภายในฝ่ายหรือแผนกไม่ราบรื่น
    หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการทำงานได้อย่างเป็นระบบและเห็นผลได้อย่างแน่นอน เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหากับผู้ปฏิบัติงานและฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ได้พูดได้คุยกันมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาประจำวันได้เป็นอย่างดีและยังสอดแทรกแนวคิดการปรับปรุงงานที่มีประสิทธิภาพหลังการแก้ไขปัญหา ตามหลักการ PDCA ให้กับผู้เข้าอบรม อีกด้วย

วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างแนวคิดในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาอย่างเป็นระบบ
เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อการอบรม (ระยะเวลา 6 ชม.)

  1. หลักการจัดการองค์กรเพื่อการแข่งขันในปัจจุบัน
  2. ความสำคัญของการแก้ไขปัญหาในองค์กร
  3. Mindset ในการแก้ไขปัญหา ระหว่าง Fixed mindset & Growth mindset
    4.เกี่ยวกับปัญหา และการตัดสินใจ
     ปัญหา คืออะไร / สาเหตุหลักของปัญหา / ประเภทของปัญหา
     การตัดสินใจ คืออะไร / ประเภทของการตัดสินใจ
    Workshop1: วิเคราะห์ประเภทของปัญหาในการทำงาน
  4. เทคนิคการลดความผิดพลาดในการทำงานเบื้องต้น 10 ข้อ
    Workshop2: ป้องกันความผิดพลาดจากการทำงานเบื้องต้น
  5. เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจนและไม่มีโครงสร้างชัดเจน
     หลักการคัดกรองปัญหาเบื้องต้นด้วย 5W2H
     Relations diagram
     Cause and Effect Analysis (CE analysis)
    Workshop3: ระดมสมองเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  6. หลักการพื้นฐานของการปรับปรุงงาน
    7.1 หลักการแรก 5ส และ Visual control ทำให้เกิดความสะดวกของ ไคเซ็น
    7.2 หลักการไคเซ็น วิธีการปรับปรุงงานโดยการวิเคราะห์กระบวนการ ตามหลัก เลิก/ลด/เปลี่ยน
    7.3 หลักการที่สาม หลักการการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA
    Workshop4 วิเคราะห์งานเพื่อปรับปรุงงาน
  7. สรุป/ตอบข้อซักถาม

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *