“การวางแผนงาน&การวางผังงาน&การวิเคราะห์”

27 มีนาคม 2566: อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์ เป็นคลาสที่สนุกและมันส์กันมาก..ระดมสมองกันตลอดทั้งวันพร้อมการบ้าน ✌..🚀🌱🎊 “การวางแผนงาน&การวางผังงาน&การวิเคราะห์” ครับ 🌿🌷💓

ขอบคุณ บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด (มหาชน) ด้วยครับ

ในโลกการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน องค์กรต่างๆมุ่งแสวงหาแนวทางการบริหารจัดการที่จะสามารถตอบโจทย์ทางด้านการแข่งขันได้ ทั้งเรื่องคุณภาพ ต้นทุน และระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานจนถึงการส่งมอบ โดยเฉพาะการพัฒนาแนวความคิดของ “คน” หรือพนักงาน ให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในระดับสูงสุดหรือการทำงานแบบมืออาชีพ ดังนั้นการทำงานอย่างมืออาชีพเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้การทำงานของคนในองค์กรในทุกระดับชั้น บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของคนที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลทำให้องค์กรมีการเติบโตก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการการวางแผนปฏิบัติการ ที่มีประสิทธิภาพ
เครื่องมือที่มีมาเป็นชุดใหม่ที่ใช้สำหรับ “การวางแผนงาน & การวางผังงาน & การวิเคราะห์” เพื่อให้ได้วิธีการทำงานที่ตรงกันชัดเจนเป็นรูปธรรม นำมาแก้ปัญหาทางด้านเทคนิค ตามขั้นตอนของวงจรในการบริหาร (Wheel of P-D-C-A) โดยเริ่มตั้งแต่การระบุปัญหา การหาสาเหตุ การตั้งเป้าหมาย รวมถึง ตรวจติดตามผลการแก้ปัญหา ช่วยให้เกิดแนวความคิด วางแผนการแก้ไข ได้อย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย

  1. แผนภูมิการจัดกลุ่มความคิด (Affinity Diagram) ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นคำพูด ความรู้สึกจากผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง นำมาจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อแยกกลุ่มของข้อมูลไว้สำหรับการนำมาวิเคราะห์ในขั้นต่อไป โดยตั้งคำถามว่า “ทำไม” “เพราะอะไร” จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นในองค์กร (ทำไมถึงไม่บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย?)
  2. แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relation Diagram) หลังจากจัดกลุ่มข้อมูล (Affinity Diagram) แล้ว ผู้บริหารควรมุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข/ป้องกันเพื่อใช้ในการวางแผนเชิงรุก และเชื่อมโยงกลุ่มข้อมูลที่ได้จากการจัดกลุ่มความคิด (Affinity Diagram) แต่ละกลุ่มแต่ละความคิด แสดงข้อมูลที่เป็นเหตุ-ข้อมูลที่เป็นผลและเชื่อมโยงจนกระทั่งทราบถึงต้นตอหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Root Causes) เพื่อนำไปหาแผนงานแนวทางหรือวิธีการป้องกันปัญหาให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายต่อไป
  3. แผนภูมิต้นไม้ตัดสินใจ (Tree Diagram/ Decision Tree) ใช้เพื่อหาแนวทางแก้ไขป้องกัน ในรูปของแผนงานหรือวิธีการ โดยตอบคำถามว่า “ทำอย่างไร” เพื่อมุ่งสู่วัตถุประสงค์/เป้าหมายที่อยากเป็น โดยการมุ่งเน้นไปที่ต้นตอหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาจากแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relation Diagram)
  4. แผนภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเมตริกซ์ (Matrix Data Analysis Chart) เป็นเครื่องมือที่ใช้เปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmark) จากมุมมองของลูกค้าและเทียบกับคู่แข่งที่เป็นผู้นำในด้านสินค้า หรือบริการคล้ายๆกับองค์กรของเรา วิธีนี้จะทำให้เห็นภาพว่าองค์กรเราอยู่ในตำแหน่งใด (Positioning) เพื่อมองกลยุทธ์ในการบริหารจัดการที่เหมาะสมต่อไปอย่างถูกทิศทาง
  5. แผนภาพทางเลือกตัดสินใจ เพื่อบริหารความเสี่ยง (Process Decision Program Chart) เป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยหาแนวทางซึ่งอาจเป็นแผนงาน/มาตรการ/วิธีการ โดยมุ่งเน้นไปยังอุปสรรคที่น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อทราบถึงทุกอุปสรรคในกระบวนการก็สามารถหาแนวทางในการขจัดอุปสรรคทุกประเภทที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต คล้ายกับการมีแผนปฏิบัติการฉุกเฉินรองรับไว้เผื่อสำหรับการเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้องค์กรมีความมั่นใจต่อการเผชิญกับ
  6. แผนภูมิลูกศร (Arrow Diagram) เป็นการวางแผนงานที่มีการกำหนดกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา และลำดับก่อนหลังของแต่ละกิจกรรมว่ากิจกรรมใดควรทำก่อน-หลัง เพื่อที่จะบริหารโครงการหรือแผนงานให้บรรลุเป้าหมายได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
    การวางแผนปฏิบัติการเพื่อความสำเร็จ จึงมีความสำคัญอย่างมาก ต่อการบริหารจัดการงานประจำวันและที่เป็นโครงการ เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ได้ตรงตามเป้าหมาย ทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด การรู้จักวางแผนและจัดสรรเวลาในการทำงานอย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นผู้บริหารเท่านั้นที่จะสามารถทำได้ ทุกคนก็สามารถทำได้เพียงแต่ต้องมีหลักการที่ถูกต้องที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มหาศาลกับการจัดการงานประจำวัน และการบริหารหลักขององค์กร

วัตถุประสงค์ (Objectives)

  1. เพื่อสร้างแนวคิดในการการวางแผนและการจัดการโครงการ
  2. เพื่อให้สามารถวางแผนและจัดระบบงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อให้สามารถบริหารโครงการได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิผลในการทำงาน
  4. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
  5. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลของหลักสูตร (Course Detail)

รูปแบบการเรียนรู้ (Methodology): การบรรยาย 40 % / Workshop 60 %
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการเรียนรู้ (Target Participants): หัวหน้างาน และพนักงานทุกระดับ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
จำนวนผู้เข้ารับการเรียนรู้ (No. of Participants): 20-30 คน/รุ่น
ระยะเวลาการอบรม (Training period): 9.00-16.00 น

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *