“การพัฒนาทักษะหัวหน้างาน เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ” หลักสูตร 2 วัน

29-30 กรกฎาคม 2566: อาจารย์ ดร.ไมตรี บุญขันธ์ ได้ฝึกอบรมให้ความรู้..😁🚀🌷✌ “การพัฒนาทักษะหัวหน้างาน เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ” 🌿🎊🎉 ครับ

ขอบคุณ บริษัท ศรีตรัง รับเบอร์ แอนด์ แพลนเทชั่น จำกัด ด้วยครับ

การพัฒนาทักษะหัวหน้างาน หรือ Supervisory skills นั้นผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับ ต้องมองไปในทิศทางเดียวกันว่า เราเป็นใคร เราอยู่ที่ไหน กำลังทำอะไรอยู่ และทำไปเพื่ออะไร ในเรื่องของ “การพัฒนา” นั้น “Mindset” หรือ “จิตสำนึก” ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานทุกประเภท ทั้งงานที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต การปลูกฝังสร้างความรู้ ที่ส่งเสริมการพัฒนาตนเอง เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะแนวคิด (Concept) วิธีการ (How to) ที่ถูกต้องและสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้อย่างง่ายดายเพื่อช่วยให้องค์กรพัฒนาบุคคลากรโดยเฉพาะระดับหัวหน้างาน ให้มีความรู้ มีแนวคิดในการพัฒนาทักษะของตนเองไปสู่ความสำเร็จ และนำไปสู่การพัฒนาองค์กรร่วมกันได้ในที่สุด

ทั้งนี้ทักษะเพื่อการทำงานที่สำคัญเพื่อให้การทำงานในระดับหัวหน้างานมีประสิทธิภาพ ได้ถูกกล่าวไว้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคที่โลกได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเพิ่มทักษะให้กับบุคคลากรในระดับหัวหน้างานในองค์กรยิ่งมีความสำคัญ ทั้งทางด้าน Soft skills และ Hard Skills ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจและหาแนวทาง ด้วยวิธีการที่สามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เช่น ลดปัญหาความขัดแย้ง การเข้าใจผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การลดต้นทุนการผลิต  ลดปัญหาความเสียหาย  ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไข  การรอคอยงาน การขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับบุคลากรภายในได้ เป็นต้น

หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของ การบริหารการผลิตสำหรับหัวหน้างาน เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ ในยุคปัจจุบัน เป็นการรวบรวมเครื่องมือและแนวคิดที่ใช้ในการปรับปรุงการทำงานกับบุคคลากรในระดับหัวหน้างานและฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ในการพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างพฤติกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน

2. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงาน สำหรับหัวหน้างาน
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม เพิ่มทักษะในการทำงานในระดับหัวหน้างานเพื่อสอดคล้องกับการทำงานในอนาคต

หัวข้อการอบรม วันที่ 1 (เวลา 09.00 – 16.00 น.)

1. หลักการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมและงานบริการในปัจจุบัน

2. “กำไร” ขององค์กรเกิดขึ้นจากสิ่งใด

3. ความหมายและความสำคัญของคำว่า “ต้นทุน”

            -ต้นทุนคงที่ และต้นทุนแปรผัน

4. รูปแบบการคิดในการพัฒนางาน

            Workshop1 Growth mindset Vs Fixed mindset

5. บทบาทหน้าที่และคุณสมบัติของหัวหน้างาน

6. สิ่งสำคัญ 5 รู้ สำหรับผู้นำ (Leadership Skills)

7. การบริหารความขัดแย้งในการทำงาน 3 รูปแบบ

            Workshop2 หัวหน้างานที่องค์กรต้องการและลูกน้องอยากได้

8. หัวหน้างานกับการสื่อสารทั้ง 4 รูปแบบ

            Workshop3 ทักษะการสื่อสารของหัวหน้างาน

9. เทคนิคการบริหารผลการปฏิบัติงาน PI vs KPIs

– PI กับ KPIs มีความสอดคล้องกันอย่างไร

Workshop4 การหาตัวชี้วัด PI เพื่อกำหนดเป็น KPI ที่สำคัญ

10. จิตสำนึกและจิตสำนึกคุณภาพคืออะไร

            – สิ่งที่ลูกค้าต้องการจากงานของเรา

            – กลยุทธ์เพื่อสร้างความตระหนักในคุณภาพให้กับพนักงาน

            Workshop5: ผลกระทบจากการทำงานที่ไม่ได้คุณภาพ

11. ปัจจัย 4 ด้าน ที่ส่งผลต่อคุณภาพงาน

            Workshop6: วิเคราะห์ปัจจัย 4 ด้านที่ส่งผลต่อคุณภาพในการทำงาน

12. เทคนิคการลดความผิดพลาดและสร้างคุณภาพในการทำงาน

– เทคนิคการลดความผิดพลาดในการทำงานเบื้องต้น 10 ประการ

Workshop7: ป้องกันความผิดพลาดจากการทำงานเบื้องต้น

13. Work Shop8 “ใจเขาใจเรากับคุณภาพที่ลูกค้าต้องการ”

14. Work Shop9 “มาสร้างเป้าหมาย” ให้กับทุกคนในทีมด้วยหลักการ PDCAสรุปประเด็น ถาม-ตอบ

หัวข้อการอบรม วันที่ 2 (เวลา 09.00 – 16.00 น.)

1. ทักษะและบุคลากรยุคใหม่ที่องค์กรต้องการ

2. ทักษะการคิดที่สำคัญของยุคปัจจุบัน ที่คนในองค์กรยุคใหม่ไม่มีไม่ได้

3. องค์ประกอบของ Critical Thinking

            3.1) การทำความเข้าใจ (Understanding)

3.2) การวิเคราะห์ (Analysis)

3.3) การอนุมาน (Inference)

Workshop1: การคิดเชิงวิพากษ์เพื่อการแก้ไขปัญหาแบบมีเหตุผล

4. การวิเคราะห์กระบวนการ ด้วยผังการไหล (Flow Process Chart)

            Workshop2: ปรับปรุงงานด้วยการปรับผังลำดับงาน

5. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นด้วย แผนภูมิความสัมพันธ์ (Relation Diagram) มุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข/ป้องกันเพื่อใช้ในการวางแผนเชิงรุก

            Workshop3: วิเคราะห์ปัญหาในการทำงานในปัจจุบันของผู้เข้าอบรม

6. แผนภูมิต้นไม้ตัดสินใจ (Tree Diagram/ Decision Tree) ใช้เพื่อหาแนวทางแก้ไขป้องกัน ในรูปของแผนงานหรือวิธีการ

            Workshop4: นำสาเหตุที่ได้จากแผนภูมิความสัมพันธ์ มาทำการหาแนวทางการแก้ไข

7. แผนภูมิลูกศร (Arrow Diagram) เป็นการวางแผนงานที่มีการกำหนดกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา และลำดับก่อนหลังของแต่ละกิจกรรมว่ากิจกรรมใดควรทำก่อน-หลัง เพื่อที่จะบริหารโครงการหรือแผนงานให้บรรลุเป้าหมายได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

            Workshop5: วางแผนการแก้ไขปัญหา

8. แผนภาพทางเลือกตัดสินใจ (Process Decision Program Chart) เป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยหาแนวทางซึ่งอาจเป็นแผนงาน/มาตรการ/วิธีการ โดยมุ่งเน้นไปยังอุปสรรคที่น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนดไว้

            Workshop6: ใช้เครื่องมือในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล

สรุปประเด็น ถาม-ตอบ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *