การควบคุมและลดของเสียในการผลิตด้วยการจัดการแบบทันเวลาพอดี – Just in time

การผลิตแบบ JIT (Just in time) คือ การที่ชิ้นส่วนที่จำเป็นเข้ามาถึงกระบวนการผลิตในเวลาที่จำเป็นและด้วยจำนวนที่จำเป็นหรืออาจกล่าวได้ว่า  JIT  คือ การผลิตหรือการส่งมอบ “ สิ่งของที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ” ใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกำหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบ ซึ่งลูกค้าในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะลูกค้าผู้ซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงบุคลากรในส่วนงานอื่นที่ต้องการงานระหว่างทำหรือวัตถุดิบเพื่อทำการผลิตต่อเนื่องด้วย โดยใช้วิธีดึง ( Pull Method of Material Flow ) ควบคุมวัสดุคงคลังและการผลิต ณ สถานีที่ทำการผลิตนั้นๆ  ซึ่งถ้าทำได้ตามแนวคิดนี้แล้ววัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นในรูปของวัตถุดิบ งานระหว่างทำและสินค้าสำเร็จรูปจะถูกขจัดออกไปอย่างสิ้นเชิง

แต่ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้านานาชนิดบ่อยครั้งมักเกิดสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือเกิดเป็นของเสียขึ้นซึ่งบางครั้งของเสียเหล่านั้นอาจเล็ดลอดผ่านกระบวนการควบคุมคุณภาพทางงานสถิติ(Statistical Quality Control) จากการสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบไปสู่ลูกค้าได้ ซึ่งมีผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) และต้องทำการแก้ไขผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานเหล่านั้น (Rework) ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นไปอีก เทคนิคหนึ่งทางด้านปรับปรุงคุณภาพและมุ่งมั่นสู่ของเสียเป็นศูนย์ (Zero-Defect) นั้นคือ การใช้ระบบ POKA-YOKE ซึ่งเป็นระบบป้องกันความผิดพลาดในขบวนการผลิต ควบคุมให้งานในกระบวนการมีความถูกต้องมากที่สุดก่อนที่จะสามารถผ่านไปสู่กระบวนการต่อไป โดยความผิดพลาดที่เกิดจากเครื่องจักรนั้นไม่ค่อยน่าเป็นห่วงมากนักเพราะวิศวกรที่ได้ออกแบบเครื่องจักรนั้นมักออกแบบให้ได้ตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับหนึ่ง ส่วนมากที่มีปัญหาในการผลิตคือ “คน” แต่ถ้าเราออกแบบให้ดีตั้งแต่ต้นปัญหาต่างๆ เช่นของเสีย หรือปัญหาที่เกิดจากคนก็จะหมดไปทำให้ประหยัดค่าอบรมซ้ำๆและค่าความเสียหายที่เกิดจากของเสียเป็นต้น จนทำให้ระบบการผลิตแบบ Just in time เกิดปัญหาขึ้นได้แม้จะมีการควบคุมการผลิตอย่างดีแล้วก็ตาม

หลักสูตรนี้จึงเหมาะสมกับทุกองค์กร ที่ต้องการควบคุมและลดความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะทำให้เกิดการพัฒนาและสร้างการยอมรับ ร่วมมือกันภายในองค์กร ต่อยอดสู่การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อให้ระบบ JIT (Just in time) สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท

เพื่อทราบถึงเครื่องมือจัดการคุณภาพเบื้องต้นสำหรับพนักงาน

เพื่อรู้แนวทางการประยุกต์ใช้กับการควบคุมคุณภาพการผลิตของหน่วยงานตนเองได้

เพื่อเข้าใจการควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดหรือให้เท่ากับศูนย์ ( Zero inventory ) 

เพื่อเข้าใจการลดเวลานำหรือระยะเวลารอคอยในกระบวนการผลิต ( Zero lead time )

เพื่อเข้าใจและขจัดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต ( Zero failures )

เพื่อเข้าใจขจัดความสูญเปล่าในการผลิต ( Eliminate 7 Types of Waste )

เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี

หัวข้อการอบรม (09.00 – 16.00)

1. องค์ประกอบของการผลิต

2. กลยุทธ์ที่นิยมนำมาปรับใช้ในการผลิต

3. การประยุกต์ใช้เครื่องมือทางสถิติด้านคุณภาพเบื้องต้น

4. ตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการผลิต (Efficiency parameter)

5. แนวคิดและความสำคัญของ Just in Time

6. ความสูญเสียหลัก 6 ประการของเครื่องจักรและการผลิต (Big 6 losses)

7. ความสูญเสียในการผลิตทั้ง 8 ประการเพื่อควบคุมการผลิต (8 Wastes)

8. ระบบดัน (Push System) และระบบดึง (Pull System)

  • การปรับเรียบการผลิต (Leveled Production)
  • การจัดทำมาตรฐานพื้นที่การทำงาน (Standard working)
  • การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย (Kaizen)
  • การปรับปรุงกระบวนการด้วย Flow process chart และ ECRS

9. การควบคุมและลดของเสียในการผลิตทั้ง 7 ระดับ (Mistake-Proofing)

10. ข้อดีของการทำระบบ JIT (Just in time)

11.Work shop1: การทำงานร่วมกันเพื่อลดปัญหา

12.Work shop2: การแก้ไขปัญหาในการผลิตสินค้าด้วย JIT

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *