“การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วย QC Story” รุ่นที่ 3

16 สิงหาคม 2565: อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์ วันนี้ออนไลน์กับ..💕⚡🍀 “การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วย QC Story” รุ่นที่ 3 ครับ..💓🌐🍁

ขอบคุณ บริษัท ไทยทาเคนาคาสากลก่อสร้าง จำกัด ด้วยครับ

การควบคุมคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นบทบาทสำคัญยิ่งต่อโรงงานนั้นๆ ซึ่งหลักการควบคุมคุณภาพ ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปต่างจากอดีตมากและได้เกิดเครื่องมือในการควบคุมคุณภาพอยู่หลายวิธี เช่น QC Story , QCC (Quality control circle) และ QC 7 Tools หรือเครื่องมือจัดการคุณภาพ 7 ชนิด ซึ่งเป็นเครื่องมือทางสถิติอย่างง่ายๆ ที่สามารถนำมาช่วยในการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง เป็นระบบและเป็นขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ค้นพบปัญหาที่แท้จริงจากข้อมูลที่มีอยู่เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในกระบวนการผลิตนั้นๆ ด้วย การลดปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหาที่ถูกต้อง ถือเป็นหน้าที่ของพนักงานและผู้บริหารทุกคน ดังนั้น ทุกคนต้องมีความรู้ จิตสำนึก การสังเกต หาสาเหตุ และหาแนวทางแก้ไขป้องกัน เพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งเป็นหนทางที่ใช้ในการปรับปรุง เพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิตขององค์กรให้ยั่งยืนได้นั่นเอง
หลักสูตรนี้จึงเป็นการให้ความรู้ของการทำกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดของการทำระบบ TQM (Total Quality Management) ตั้งแต่เรื่องของ คุณภาพในการทำงาน การค้นหาปัญหา การทำงานเป็นทีม องค์ประกอบของการดำเนินกิจกรรม ขั้นตอนต่างๆ รวมไปจนถึงการนำเสนอผลงาน ซึ่งหลักสูตรได้ถูกออกแบบ Workshop ให้เข้าใจได้ง่าย ตั้งแต่ขั้นตอนการรวมกลุ่มไปจนถึงขั้นตอนทั้ง 7 ของการทำ QC Story ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงหลังการฝึกอบรม

หัวข้อการอบรม

  1. องค์ประกอบของธุรกิจ ต้นทุน กำไร และรายได้
  2. การลดต้นทุนการผลิต จากการทำงานประจำวัน
  3. ปัญหาของการทำงานตามหลักการ 4M เพื่อใช้ในการทำกิจกรรม
  4. ความหมายของคุณภาพในปัจจุบันและความอยู่รอดขององค์กร
  5. ความเป็นมาและความหมายของระบบคุณภาพ ที่เกี่ยวข้องกับ QCC
  6. เรียนรู้การใช้เครื่องมือ QC 7 Tools ในการแก้ไขปัญหา
  7. เทคนิคการทำ QC Story 7 ขั้นตอน ให้ถูกต้องสมบูรณ์
    7.1 จัดตั้งกลุ่มและค้นหาหัวข้อปัญหา
    7.2 สำรวจสภาพปัจจุบัน
    7.3 วางแผนกิจกรรม
    7.4 วิเคราะห์สาเหตุ
    7.5 กำหนดแผนการแก้ไขและดำเนินการตามแผน
    7.6 ตรวจสอบผล
    7.7 กำหนดมาตรฐาน/จัดทำรายงาน
  8. องค์ประกอบและหน้าที่ที่สำคัญของกลุ่มกิจกรรม QCC
    8.1 หัวหน้ากลุ่ม
    8.2 เลขานุการกลุ่ม หรือผู้ประสานงานกลุ่ม
    8.3 สมาชิกกลุ่ม
    8.4 ที่ปรึกษากลุ่ม
  9. แนวคิดของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ด้วย PDCA
    Workshop เรียนรู้ขั้นตอนการจัดทำกลุ่มคุณภาพ QCC (Small group activity)

กลุ่มเป้าหมาย
หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป

รูปแบบการสัมมนา

  1. การบรรยาย 60 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 30%
  3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 10 %

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการใช้ QC Story อย่างถูกต้อง
2.ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการของ QCC ไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกเรื่องคุณภาพและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
5.ผู้เข้าอบรมมีสำนึกการรักองค์กรมากขึ้น

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *