ที่ปรึกษา “การนำเสนอผลงาน การปรับปรุงงานด้วย ไคเซ็น รุ่นที่ 1”

23 เมษายน 2564: อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์ เป็นที่ปรึกษาการทำกิจกรรม ไคเซ็น โดยการนำเสนอแบบออนไลน์  😊✌🎌 “นำเสนอผลงาน การปรับปรุงงานด้วย ไคเซ็น รุ่นที่ 1” 🌷🔩🎀 ขอบคุณทุกท่านในวันนี้ครับ

ขอบคุณ #การไฟฟ้านครหลวง ด้วยครับ

Kaizen (ไคเซ็น) แปลตรงตัวว่า ‘การพัฒนา’ หรือ ‘การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น’ เป็นแนวคิดที่ใช้บริหารการจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้ Kaizen ในที่ทำงานหมายถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยความร่วมมือของทุกคน – ทั้งหัวหน้าและพนักงาน (Continuous Improvement)

คำว่า ‘Kaizen’ มาจาก ‘Kai’ (ไค) ที่แปลว่า การเปลี่ยนแปลง และ ‘Zen’ (เซ็น) ที่แปลว่าความดี ความหมายตรงตัวก็คือการพัฒนาที่ดีนั่นเอง ในมุมมองของการบริหารการปฏิบัติการ Kaizen เป็นคำที่มีความเกี่ยวข้องกับ ‘การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง’

หลักการการทำไคเซ็น คือ การลดหรือเลิกขั้นตอนส่วนเกิน ส่วนที่ไม่จำเป็น ด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงาน เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อย ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และต้องอาศัยการพลิกแพลงเพื่อให้หลุดพ้นจากข้อจำกัดในความเป็นจริงต่าง ๆ เช่น งบประมาณ เวลา อุปกรณ์ เทคโนโลยี ฯลฯ

ไคเซ็นจากงานตัวเองก่อน เพราะเรารู้จักงานของตัวเองดีที่สุด และเริ่มเปลี่ยนเพียงบางส่วน เพราะการเปลี่ยนทั้งหมดเป็นเรื่องยาก !!

ไคเซ็น (Kaizen) คือการลดขั้นตอนส่วนเกิน แต่ลดจากเรื่องที่ไม่จำเป็น ด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงาน ทำด้วยความตั้งใจจริง

ไคเซ็น คือ

  • เปลี่ยนวิธีการ…เปลี่ยนวิธีการทำงาน ลดขั้นตอนส่วนที่ไม่จำเป็นออก
  • เปลี่ยนเรื่องเล็ก…เปลี่ยนเรื่องเล็ก ๆ หรือปัญหาที่พบเห็นในแต่ละวัน
  • รับมือกับความเป็นจริง…ทำเรื่องที่ทำได้ก่อน รับมือกับความเป็นจริงที่มีข้อจำกัด
    การทำไคเซ็นปรากฏให้เราได้เห็นกันทุกที่ ไม่ใช่แค่ในโรงงาน เพราะไม่ว่าจะเป็นใน สายการผลิต ในสำนักงาน หรือแม้แต่ใน ชีวิตประจำวัน ก็สามารถทำไคเซ็นได้เหมือนกันครับ

รายละเอียดหลักสูตร ด้านล่างครับ.

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *