โลกยุคปัจจุบันนี้ การทํางาน ไม่ว่าอยู่ใน หน่วยงานใดหรือองค์กรใด เราก็จําเป็นจะต้องมีการ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาตนเองและองค์กรของตน ให้ทันต่อเหตุการณ์และเตรียมรับกับสถานการณ์ที่จะ เกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้องค์กรของตนอยู่รอดและ สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ การนําหลักการของไคเซ็น เข้ามาประยุกต์ใช้ จะเน้นการค้นหาประเด็นปัญหาและ หาแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา และในระหว่างการ ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนนั้นก็มีการปรับปรุงวิธีการ ปฏิบัติหากว่าผลการปฏิบัตินั้นไม่ประสบความสําเร็จ เพื่อที่จะแก้ไขต่อไปและยังสามารถปฏิบัติต่อไปได้ เรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด พฤติกรรมของคนในบริษัทจะ เปลี่ยนไป ขนบธรรมเนียมใหม่จะเกิดขึ้น และก็จะมี วิวัฒนาการที่ดีขึ้น และยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของคนรอบข้างและชีวิตของเราก็จะเปลี่ยนไป วิสัยทัศน์ก็เปลี่ยนไป แล้วก็จะเกิด ไคเซ็นใหม่ๆขึ้น ตามมา ถ้ามนุษย์เราสามารถปรับตัวให้ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ก็จะสามารถแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้และวางแผนเตรียมรับกับปัญหาที่จะ เกิดขึ้นได้ทันเวลาโดยส่งผลกระทบให้กับเราองค์กรและ สังคมน้อยที่สุด แต่ถ้าไม่มีการพัฒนาตนเอง ไม่พัฒนา องค์กร ก็จะไม่สามารถดํารงอยู่ได้ในสังคมเพราะไม่มี การพัฒนานําสิ่งใหม่ๆเข้ามาใช้ จะกลายเป็นคนที่ล้าสมัย ไม่เกิดการพัฒนา ไม่ปรับตัวให้เข้ากับสังคมในยุค ปัจจุบัน
ความเป็นมาของ “ไคเซ็น (Kaizen)
ในหนังสือเรื่อง “ไคเซ็น กุญแจในการทําให้ ประเทศญี่ปุ่นมีขีดความสามารถทางการแข่งขัน” ได้ถูก ตีพิมพ์ปี ค.ศ.1986 ออกไป คําว่า “ไคเซ็น“ เป็นที่ยอมรับ อย่างแพร่หลาย เป็นหนึ่งแนวคิดหลักทางการจัดการ ความหมาย หลักของไคเซ็นคือ การปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่องในการทํางาน ยกระดับประสิทธิภาพของบุคคล กล่าวได้ว่า ไคเซ็น เป็นปรัชญาของการดําเนินธุรกิจของ คนญี่ปุ่นในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงหรือ เปลี่ยนแปลงจะเกี่ยวข้องกับคนทุกๆ คน ตั้งแต่ผู้บริหาร จนถึงพนักงานในสายการผลิต เป็นการลงทุนในการทําที่ ต่ํา ซึ่งปรัชญาของไคเซ็นจะ เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวัน ชีวิตงาน สังคม ครอบครัว โดยเน้นความตั้งใจในการ ปรับปรุงให้ดีขึ้น (สุรัส ตั้งไพฑูรย์, 2551.)
คําว่า “ไคเซ็น” หรือ “Kaizen” เป็นศัพท์ ภาษาญี่ปุ่น แปลว่า “การปรับปรุง (improvement)” ซึ่ง หากแยกความหมายตามพยางค์แล้วจะแยกได้ 2 คํา คือ “Kai” แปลว่า การเปลี่ยนแปลง (Change) และ “Zen แปลว่า ดี (good) ซึ่งรวมกันเป็น การเปลี่ยนแปลงในทาง ที่ดี ก็คือ การปรับปรุงให้ดีขึ้น นั่นเอง
แนวคิดเกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารแบบไคเซ็น นี้ เริ่มต้นในบริษัทญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้มีการก่อตั้ง สถาบันไคเซ็น (Kaizen Institute) ผู้ก่อตั้ง คือ มะซากิ อิมะอิ (Masaaki Imai) ในช่วงปี 1985 และหลังจากนั้นมีนักธุรกิจอเมริกันเริ่มรู้จักกับเทคนิคนี้ ผ่านการดูงานบริษัทในญี่ปุ่น ทําให้กลยุทธ์ไคเซ็นเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
เคล็ดลับที่มีประโยชน์ในกิจกรรมไคเซ็น
- ให้การพัฒนาความคิดและการตัดสินใจ เกี่ยวกับงานแยกจากกันชัดเจน
- พัฒนาความคิดให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ความคิดที่มากขึ้นดีกว่าแผนไคเซ็น
- คิดจากทุกมุม เป็นสิ่งที่ดีในการตรวจสอบ ความหลากหลายของความคิดเนื่องจากมีหลายวิธีที่จะทํา ให้ได้เป้าหมายเดียว
- ใช้การวิเคราะห์ สําหรับปัญหาใหญ่ ที่ ซับซ้อนหรือคลุมเครือวิเคราะห์ จะลดความซับซ้อนของ ความคิดได้
- รวมความคิดของเรากับคนอื่นๆ เข้าด้วยกัน จะสามารถพัฒนาความคิดได้มากกว่าที่เราอาจจะทําด้วย ตัวเองอย่างเดียว
ไมตรี บุญขันธ์