การวิเคราะห์สาเหตุและป้องกันด้วย 8Ds และ PDCA

24 กรกฏาคม 2566: อาจารย์ ดร.ไมตรี บุญขันธ์ ได้อบรมให้ความรู้พร้อมกับการทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้นตลอดทั้งสองวันของการอบรม ในหลักสูตร “การวิเคราะห์สาเหตุและป้องกันด้วย 8Ds และ PDCA” ครับ

ขอบคุณ บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด ด้วยครับ

องค์กรจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง “คุณภาพ” ในสินค้าและบริการ ต้องมีกลยุทธ์หรือวิธีการในการพัฒนาบุคลากร มีขั้นตอนสำหรับการแก้ไขปัญหา และการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง หรือเรียกอีกชื่อว่า “กระบวนการวิเคราะห์และแก้ปัญหาแบบ 8D Report” เพื่อสร้างความพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งการพัฒนาให้ได้มาซึ่งคุณภาพนั้นสามารถทำได้โดยการลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วย “บุคลากร” อันหมายถึงการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะการทำงานของพนักงาน

ปัญหาต่าง ๆ ของการทำงานในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะในกระบวนการทำงานภายในโรงงาน (Process in Factory) ซึ่งทักษะการวิเคราะห์ปัญหาด้วย 8D Report & Why – Why Analysis เป็นพื้นฐานสำคัญและมีความเหมาะสมกับการแก้ปัญหาในกระบวนการมาก การพัฒนาทักษะดังกล่าวส่งผลให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์ มีความเป็นระบบ มีขั้นตอนและมีเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ และได้ผลลัพธ์ทั้ง “การแก้ปัญหาและป้องกันปัญหา (Corrective & Preventive Action)” ที่มีร่วมกันในขั้นตอนของ 8D Report

การวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วย 8D Report & Why – Why Analysis มีขั้นตอนและข้อกำหนดตามมาตรฐานสากลดังนี้

D1: การจัดตั้งคณะทำงานแบบข้ามสายงาน (Build a Cross – Functional Team)

D2: การทำความเข้าใจลักษณะของปัญหา (Describe the Problem)

D3: การปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น (Implement Containment Action)

D4: การระบุรากสาเหตุ (Define Root Causes)D5: การกำหนดปฏิบัติการแก้ไข (Define Corrective Action)

D6: การปฏิบัติการแก้ไขปัญหาถาวร (Implement Permanent Corrective Action)

D7: วางมาตรการป้องกันการเกิดซ้ำ (Prevent Recurrence)

D8: การยินดีกับความสำเร็จของคณะทำงาน (Congratulate the Team)

       

หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการทำงานได้อย่างเป็นระบบทั้งหลักการ PDCA ,8Ds report, Fish bone diagram และ Why why analysis ได้อย่างเห็นผลแน่นอน เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหากับพนักงานในระดับปฏิบัติการและฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ในการแก้ไขปัญหาประจำวันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

หัวข้อการอบรม วันที่ 1 (09.00 – 16.00 น.)

1. แนวคิดของคุณภาพในโลกแห่งการแข่งขัน

2. สิ่งที่ลูกค้าต้องการจากงานของเรา

3.ทัศนคติของคนที่พร้อมจะปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง

            – ความคิดแบบ Growth mindset Vs Fixed Mindset

4.แนวคิดสำคัญในการแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพ

(Market-in, Next process, PDCA, Fact & Data, Process Approach, Standardization, Prevention)

5.กระบวนการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาในการทำงานด้วย PDCA และ QC 7 tools

6. PLAN: หลักการวางแผนและการเก็บข้อมูลเพื่อตัดสินใจ (Step1: ค้นหาหัวข้อปัญหา / สิ่งที่จะปรับปรุง

Step2: สำรวจสภาพปัจจุบันเพื่อหาข้อมูล Step3: วางแผนแก้ไข

            7.1 เรียนรู้การใช้เครื่องมือ QC 7 Tools ในการเก็บข้อมูลแก้ไขปัญหา

  • แผ่นตรวจสอบ (Check sheet)
  • ผังพาเรโต (Pareto diagram)
  • ผังการกระจาย (Scatter diagram)

Workshop2 การใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ1

พักเที่ยง 12.00 – 13.00 น.

  • ผังเหตุและผล (Cause & Effect diagram)
  • ฮิสโตแกรม (Histogram)
  • แผนภูมิควบคุม (Control chart)
  • กราฟ (Graph)

Workshop2 การใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ1

7.2 การใช้ Gantt chart และ Arrow diagram เพื่อการวางแผนที่สมบูรณ์

8. DO: หลักการลงมือทำ การแบ่งหน้าที่ และติดตามผลที่มีประสิทธิภาพ

    (Step4: วิเคราะห์สาเหตุ Step5: กำหนดแผนการแก้ไขและดำเนินการตามแผน)

9. CHECK:  หลักการตรวจสอบผล และการแก้ไขหากไม่ได้ตามเป้าหมาย (Step6: ตรวจสอบผล)

10. ACTION: การประเมินผลและการปรับปรุง เพื่อสร้างมาตรฐานที่ดีขึ้น

     (Step:7 กำหนดมาตรฐาน/จัดทำรายงาน)

11.สรุปการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วย QC Story ทั้ง 7 ขั้นตอนและกรณีศึกษา

Workshop3 การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วย QC Story

Workshop4 วิทยากรมอบการบ้านและแบบฟอร์ม ในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาหน้างานให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำมา นำเสนอในวันที่ 2

หัวข้อการอบรม วันที่ 2 (เวลา 09.00 – 16.00 น.)

1. แนวคิดการแก้ปัญหาและลักษณะของปัญหา

2. การสำรวจสภาพปัจจุบันของปัญหาด้วยหลัก 5 Gen.

3. ความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา
4. วงจรการแก้ไขปัญหาที่หน้างานด้วยหลักการ 8Ds และ PDCA

          D1: การจัดตั้งคณะทำงานแบบข้ามสายงาน (Build a Cross – Functional Team)

D2: การทำความเข้าใจลักษณะของปัญหา (Describe the Problem)

D3: การปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น (Implement Containment Action)

D4: การระบุรากสาเหตุ (Define Root Causes)

D5: การกำหนดปฏิบัติการแก้ไข (Define Corrective Action)

D6: การปฏิบัติการแก้ไขปัญหาถาวร (Implement Permanent Corrective Action)

D7: วางมาตรการป้องกันการเกิดซ้ำ (Prevent Recurrence)

D8: การยินดีกับความสำเร็จของคณะทำงาน (Congratulate the Team)

5. ตัวอย่างการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

Work shop: “เราเป็นใคร” เพื่อให้ตระหนักรู้ในการทำงานเป็นทีมร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา

Work shop: “ทำงานให้ไวและได้คุณภาพผ่านการทำงานเป็นทีม”

Work shop: “การทำงานเป็นทีมเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพอย่างเป็นระบบ”

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป

รูปแบบการสัมมนา

  1. การบรรยาย                               60 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 30%
  3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์        10 %

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *