จิตสำนึกการเพิ่มผลผลิต

23 มิถุนายน 2566: อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์ วันศุกร์นี้กับ ..🎉🚀🌿 “จิตสำนึกการเพิ่มผลผลิต” Productivity Mindset ครับ 🎊💓🌵🌿

ขอขอบคุณ บริษัท โตโกะ เซอิซากุเซียว (ประเทศไทย) จำกัด

ในโลกการแข่งขันทางอุตสาหกรรมปัจจุบัน องค์กรธุรกิจต่างมุ่งแสวงหาแนวทางการผลิต, การบริหารกระบวนการที่จะสามารถตอบโจทย์ทางด้านการแข่งขันได้  ทั้งเรื่องคุณภาพ ต้นทุนการผลิต และระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตจนถึงการส่งมอบ  ดังนั้นการปรับปรุงกระบวนการผลิต จึงมีความสำคัญอย่างมาก การบริหารจัดการได้ดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ย่อมจะทำให้ผลลัพธ์ Q C D (Quality, Cost, Delivery) เป็นที่พึงพอใจจนถึงเกินความคาดหมายของลูกค้าได้ ทำให้องค์กรสามารถแข่งขันได้และเติบโตอย่างยั่งยืน

ความสำเร็จทางด้านการบริหารงานของหัวหน้างาน หมายถึงความสามารถในการควบคุมการทำงานของทีมงานได้ตรงตามเป้าหมาย ทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดตามเวลาที่กำหนดของลูกค้า ซึ่งการรู้จักวางแผนและจัดสรรเวลาในการทำงานอย่างถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นนักบริหารเท่านั้นที่จะสามารถบริหารเวลาและการควบคุมงานได้สำเร็จ ทุกคนก็สามารถทำได้เพียงแต่ต้องรู้จักที่จะแบ่งเวลา โดยจัดสรรเวลาของตนเองให้ถูกต้องและเหมาะสมตามวันเวลาที่กำหนด

            หลักสูตร “การปรับปรุงกระบวนการเพื่อเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement)” จะกล่าวถึงสิ่งที่เป็นเรื่องธรรมดาๆ ที่ว่าด้วยวัตถุดิบ และขบวนการผลิต เวลาในการทำงาน รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตามหลัก 4M (Man / Machine / Method  /Materials) โดยจะเน้นการวิเคราะห์หาสาเหตุที่เป็นหัวใจของการผลิตให้ประสบผลสำเร็จ เพื่อให้ได้คำตอบในเรื่องต้นทุน ประสิทธิภาพและคุณภาพในการทำงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์มหาศาลกับการจัดการงานประจำวัน ทั้งในส่วนผลิต และการบริหารหลักขององค์กร

วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างแนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ในการบริหารการทำงาน

เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ

เพื่อให้สามารถวางแผนการทำงานประจำวันและบริหารเวลาได้อย่างเหมาะสม

เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพในการทำงานได้ครบทุกด้าน
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้กิจกรรมเสริมในการบริหารการผลิต
เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี

หัวข้อการอบรม

  1. ระบบการผลิตและงานบริการในปัจจุบัน
  2. คุณภาพคืออะไร และใครคือ “ลูกค้าภายใน” และ “ลูกค้าภายนอก”
  3. การเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต คืออะไร
  4. แนวคิดของระบบบริหารงานตามเป้าหมาย

– PI กับ KPI มีความสอดคล้องกันอย่างไร

     Workshop1: การหาตัวชี้วัด PI เพื่อกำหนดเป็น KPI ที่สำคัญ

  • ปัจจัย 4 ด้าน ที่ส่งผลต่อคุณภาพงาน

Workshop2: วิเคราะห์ปัจจัย 4 ด้านที่ส่งผลต่อคุณภาพในการทำงาน

      6. แนวทางการสร้างความตระหนักในคุณภาพ

– เทคนิคการลดความผิดพลาดในการทำงานเบื้องต้น 10 ประการ

Workshop3: ป้องกันความผิดพลาดจากการทำงานเบื้องต้น

  • การวิเคราะห์ปัญหาและเพิ่มคุณภาพตามหลัก 4M
  • เทคนิคการปรับปรุงกระบวนการ

            -การลดต้นทุนการผลิต

            -การลดความสูญเสียทั้ง 7 ประการ

            -การใช้เทคนิค 5ส เพื่อการเพิ่มผลผลิต

            -การใช้กิจกรรมการมีส่วนร่วมของพนักงานในการปรับปรุงงาน

            -การปรับปรุงด้วยหลักการ เลิก/ลด/เปลี่ยน และ ECRS

            -การปรับปรุงและพัฒนางานประจำวันด้วยหลักการ PDCA

9. การทำงานเป็นทีมเพื่อความสำเร็จขององค์กร (Team Work)

Workshop4: เพราะเราทำงานคนเดียวไม่ได้ “การทำงานเป็นทีมที่ประสบผลสำเร็จ”
Workshop5:
ระดมสมองเพื่อลดความผิดพลาดและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *