13 พฤษภาคม 2566: อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์ กับการอบรม “การแก้ไขปัญหาที่หน้างานด้วย QC 7 Tools” ครับ
ขอบคุณ บริษัท ทรีบอนด์แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยครับ #QC7Tools
คุณภาพของสินค้าหรือบริการคือสิ่งที่ทุกองค์กรต้องสร้างให้เกิดขึ้นในการทำงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้มากที่สุด การสร้างคนให้เข้าใจในการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพหรือที่เรียกว่ามี “จิตสำนึกคุณภาพ” เพราะถ้าเรามีพนักงานที่มีจิตสำนึกในการที่จะรักษาไว้ซึ่งคุณภาพ คิดถึงแต่การทำงานให้มีคุณภาพ การสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพจึงไม่ใช่สิ่งที่รอได้อีกต่อไป และเมื่อมีจิตสำนึกคุณภาพเกิดขึ้นแล้ว องค์กรยังจะสามารถพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆได้ง่ายและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น อีกด้วย
การควบคุมคุณภาพในการผลิตของภาคอุตสาหกรรม มักพบปัญหาว่าพนักงานและบุคคลากรที่หน้างานไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงหรือ Root cause และไม่เข้าใจการวิเคราะห์ Corrective action และ preventive action เพื่อให้ปัญหาเหล่านั้นได้รับการแก้ไขได้ตรงจุด ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปและได้เกิดเครื่องมือในการควบคุมคุณภาพและวิเคราะห์ปัญหาอยู่หลายวิธี เช่น QC Story , QCC (Quality control circle),Why Why analysis, และ QC 7 Tools หรือเครื่องมือจัดการคุณภาพ 7 ชนิด ซึ่งเป็นเครื่องมือทางสถิติอย่างง่ายๆ ที่สามารถนำมาช่วยในการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง เป็นระบบและเป็นขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ค้นพบปัญหาที่แท้จริงจากข้อมูลที่มีอยู่เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในกระบวนการผลิตนั้นๆ ด้วย การลดปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหาที่ถูกต้อง ถือเป็นหน้าที่ของพนักงานและผู้บริหารทุกคน ดังนั้น ทุกคนต้องมีความรู้ จิตสำนึก การสังเกต หาสาเหตุ และหาแนวทางแก้ไขป้องกัน เพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งเป็นหนทางที่ใช้ในการปรับปรุง เพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิตขององค์กรให้ยั่งยืน
ซึ่งท้ายที่สุดเมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้การใช้ QC 7 Tools แล้วมาประยุกต์ใช้กับหลักการของ PDCA ร่วมกับ QC Story ก็จะทำให้เกิดการระดมสมองเพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อสร้าง Corrective action และ Preventive action ได้อย่างถูกต้องอีกด้วย
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
เพื่อทราบถึงเครื่องมือจัดการคุณภาพ ทั้ง 7 ชนิด หรือ QC 7 Tools
เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม QC Story อย่างเป็นระบบ
เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม
หัวข้อการอบรม
-องค์ประกอบของธุรกิจ ต้นทุน กำไร และรายได้ความเป็นมาและความหมายของระบบคุณภาพ
กลุ่มข้อมูลเชิงปริมาณ: สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (Quantitative Data)
กลุ่มข้อมูลเชิงคุณภาพ : ข้อมูลที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (Qualitative Data)
เรียนรู้การใช้เครื่องมือ QC 7 Tools ในการแก้ไขปัญหา
1.แผ่นตรวจสอบ (Check sheet)
2.ผังพาเรโต (Pareto diagram)
3.กราฟ (Graph)
4.ผังเหตุและผล (Cause & Effect diagram)
5.ผังการกระจาย (Scatter diagram)
6.แผนภูมิควบคุม (Control chart)
7.ฮิสโตแกรม (Histogram)
- การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วย QC Story
- แนวคิดของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA
- เปิดมุมมองใหม่ของแนวคิดของการแก้ไขปัญหาแบบต่างๆ
- เรียนรู้ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาผ่านการระดมสมอง (Small group activity)
Workshop1 “เราเป็นใคร” เพื่อเรียนรู้การทำงานเป็นทีม
Workshop2 ระดมสมอง Brainstorming QC 7 Tools (ให้ผู้เข้าอบรมผลิตสินค้าตัวอย่าง เพื่อช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา) ธรรมชาติของกระบวนการผลิตและหลักการในการแก้ไขปัญหาคุณภาพ
Workshop3 การนำเสนอผลงาน ของผู้เข้าอบรม
–แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถามตอบ