OEE หรือ Overall Equipment Effectiveness หากเราแปลตรงๆตัวนั้นคือ “การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร” โดยจุดเริ่มต้นของ OEE ถือเป็นเป้าหมายในระบบ TPM (Total Productive Maintenance) ที่กำหนดโดยทาง คุณ Seiichi Nakajima ในปี 1928 เพื่อพัฒนาคุณภาพในการผลิตอย่างต่อเนื่องในแต่ละกิจกรรมในโรงงานอุตสาหกรรม
โดย OEE จะเป็นการบอก ประสิทธิผล หรือ ความสามารถในการผลิตของโรงงาน หรือหน่วยการผลิตโดยองค์รวม โดยหากมีการบอกว่า OEE 100% จะเป็นการบอกว่า โรงงานอุตสาหกรรมมีประสิทธิผลในการผลิตที่ดีมาก ไม่มีข้อผิดพลาดทั้งในแง่มุม ความพร้อมใช้งาน ความเร็วในการผลิต และคุณภาพของสินค้า (แต่โดย bench marking ตามมาตราฐานสากลจะอยู่ที่ประมาณ 85%)
โดยความสัมพันธ์คือ
OEE = Availability x Performance x Quality
ส่วนประกอบของ OEE
ในการวัด OEE จากสมการด้านบนจะประกอบ 3 ส่วนหลัก คือ
- Availability หรือ สมรรถนะความพร้อมของเครื่องจักรโดยจะเทียบตามแผนในการผลิตของหน่วยการผลิตนั้นๆ
หากไม่สามารถผลิตได้ หรือ สูญเสียความสามารถในการผลิตจะเรียกว่า “availability losses”
หรือสามารถคำนวนได้จาก
Availability = Operating Time / Scheduled time
Availability = สมรรถนะความพร้อมของเครื่องจักร
Operating Time = เวลาในการเดินเครื่องจักรผลิตในโรงงาน
Scheduled Time = เวลาที่ถูกวางแผนในการเดินเครื่องจักรผลิตในโรงงาน
- Performance หรือ ประสิทธิภาพในการผลิต อาจจะเรียกว่า อัตราการผลิต (Process rate) เป็นตัวแปรที่มองว่า หน่วยผลิตสามารถผลิตได้เท่าไหร่เมื่อเทียบกับความเร็วในการผลิตที่ออกแบบไว้
ในกรณีที่ผลิตได้ช้าจากการออกแบบไว้ เราจะเรียกว่า “Speed losses”
หรือสามารถคำนวนได้จาก
Performance = Actual speed / Design speed
Performance = ประสิทธิภาพในการผลิต
Actual speed = เวลาที่่ใช้จริงในการผลิต
Design speed = เวลาที่่ออกแบบในการผลิต
- Quality หรือ คุณภาพของผลิิตภัณฑ์ เป็นการบ่งบอกว่าสินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพไหม โดยกำหนดจากระบบ QA/QC ในโรงงาน โดยเป็นการบอกปริมาณสินค้าที่ได้คุณภาพมีเปอร์เซ็นเท่าไหร่จากปริมาณเท่าหมด
ส่วนปริมาณสินค้าที่เสียไปจะเรียกว่า “Quality losses”
Quality = (Units produced – defective units) / (Units produced)
Quality = คุณภาพของผลิิตภัณฑ์
Units produced = ปริมาณสินค้สที่ได้คุณภาพ
Defective units = ปริมาณสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ
Units produce = ปริมาณสินค้าทั้งหมด
ประโยชน์ของระบบ OEE ในโรงงาน
ในอดีตการความสามรถในการผลิตในโรงงาน มีการหาวิธีการกันหลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่จะมีข้อมูลทั้งในฝั่งผลิต ฝั่งซ่อม ฝั่งบัญชี รวมถึงดรรชนี KPI เต็มไปหมด แต่ไม่มีตัวไหนเลยที่สามารถบ่งบอกในเชิงองค์รวมได้ หรือนำไปใช้ปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตได้จริง ๆ
โดยการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร หรือการใช้ OEE เป็นวิธีการที่ดีวิธีหนึ่งที่นอกจากทำให้รู้ประสิทธิผลของเครื่องจักรแล้วยังรู้ถึงสาเหตุของความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งในภาพใหญ่ คือ
สามารถแยกประเภทการสูญเสียและรายละเอียดของสาเหตุนั้น
ทำให้สามารถที่จะปรับปรุง
ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบนั่นเองครับ