23 เมษายน 2568: อาจารย์ ดร.ไมตรี บุญขันธ์ วันนี้ได้ฝึกอบรมพร้อมการทำกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ .. “การบำรุงรักษาเชิงวางแผน (Planned maintenance)“ ครับ..
#PM #PlannedMaintenance
ขอบคุณ บริษัท อาคเนย์อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ จำกัด ด้วยครับ
ปัจจุบันการแข่งขันด้านการผลิตที่มีความรุนแรง ทำให้บริษัทใดที่ทำให้เครื่องจักรมีการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ย่อมก่อให้เกิดความได้เปรียบในเชิงธุรกิจมากกว่าคู่แข่ง และยังเป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิต การบำรุงรักษาเชิงวางแผน (Planned Maintenance) เป็นการใช้เวลาในการผลิตได้อย่างคุ้มค่า จากการที่เครื่องจักรเป็นปัจจัยหลักในการผลิต ซึ่งหากเครื่องจักรเกิดการขัดข้องเดินไม่เต็มสมรรถนะ หรือหยุดเสียหายโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งมอบที่ล่าช้าและ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ต่ำลง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของพนักงานอันเนื่องมาจากการควบคุม เครื่องจักรที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทำการป้องกันเพื่อไม่ให้เครื่องจักรขัดข้อง หรือหยุดโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งในปัจจุบันเครื่องจักรได้กลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการผลิตถูกทำให้เป็นระบบอัตโนมัติ มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และโดยมากแล้วปริมาณของเครื่องจักรจะมากกว่าจำนวนของพนักงานซ่อมบำรุง ถ้าบริษัทขาดการจัดทำระบบบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ดีจะทำให้เครื่องจักรมีการขัดข้องเสียหายบ่อย เครื่องจักรเดินได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพ ต้นทุนการผลิต และการส่งมอบสินค้า
การบำรุงรักษาเชิงวางแผน (Planned Maintenance) เป็นกิจกรรมหลักที่สำคัญกิจกรรมหนึ่งของ TPM ซึ่งมีแนวคิดในการสร้างระบบบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพตลอดช่วงอายุของเครื่องจักร เพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีเป้าหมายหลักคือ การเสียหายของเครื่องจักรเป็นศูนย์ (Zero Failure) โดยแผนกซ่อมบำรุงเครื่องจักรของโรงงาน มักจะพบปัญหาการขาดอะไหล่ในการนำมาซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักร เช่น บางครั้งมีอะไหล่สำรองในส่วนที่ไม่จำเป็นของเครื่องจักร หรืออาจจะมีอะไหล่ที่สำรองไว้มากหรือน้อยเกินไป เป็นต้น ดังนั้น การที่มีอะไหล่สำหรับการซ่อมตามที่ต้องการตามกำหนดเวลา การจัดเตรียมการสำรองอะไหล่ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงอย่างมีระบบ จึงเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่ทำให้สามารถลดปัญหาการขาดแคลนอะไหล่ และซ่อมบำรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงเวลา
โดยหลักสูตรนี้จะช่วยเน้นให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อการผลิต การสร้างจิตสำนึกต่อการรักษาผลผลิตของบริษัท และเน้นการวางแผนซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (Planned Maintenance) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วยต้นทุนที่ต่ำและคุ้มค่า โดยใช้ข้อมูลและประวัติของเครื่องจักรเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ รวมทั้งการคิดอัตราประสิทธิภาพการผลิตของเครื่องจักรได้อีกด้วย

หัวข้อการอบรม
1. แนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
- 1.1 องค์ประกอบของธุรกิจ ต้นทุน กำไร และรายได้
- 1.2 พื้นฐานการผลิตตามหลักการ 4M
- 1.3 องค์ประกอบที่สำคัญในสายการผลิตที่ประสบผลสำเร็จ
- 1.4 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความสูญเสียในกระบวนการผลิต
2. แนวคิด และ หลักการของ Total Productive Maintenance – TPM
3. แนวทางการทำให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์ (การเก็บอะไหล่/แผนฉุกเฉิน)
4. การวางแผนการซ่อมบำรุง การเก็บข้อมูล และการปรับปรุง
- วงจรการซ่อมบำรุง
- ข้อมูลจากการทำ PM
- ข้อมูลจากใบแจ้งซ่อม
- ข้อมูลจากการตรวจสอบประจำวัน
- การประเมินผลการวางแผนการซ่อมบำรุงประจำปี
5. การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองของพนักงานหน้าเครื่อง
6. การเพิ่มประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุงเครื่องจักร จากพนักงานหน้าเครื่องและช่างเทคนิค
7. ความสูญเสียหลัก 6 ประการของเครื่องจักร
8. ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม Planned Maintenance 6 ขั้นตอน
- 1.ประเมินเครื่องจักรและสภาพปัจจุบัน
- 2.ทำให้กลับสู่สภาพปกติและปรับปรุงจุดอ่อน
- 3.การจัดการข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องในระบบซ่อมบำรุงเชิง
- 4.การบำรุงรักษาตามกำหนดเวลา
- 5.การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
- 6.ประเมินการบำรุงรักษาเชิงวางแผน
9. การวัดประสิทธิภาพและวิเคราะห์การใช้งานเครื่องจักรร่วมกันด้วยค่า OEE, MTBF, MTTR
10. การแก้ไขปัญหาในการซ่อมบำรุงด้วย Cause-Effect Diagram, Tree Diagram, Relation Diagram
11. การระดมสมองเพื่อช่วยให้งานซ่อมบำรุงประสบความสำเร็จ
สรุป ถาม-ตอบ





