30 ตุลาคม 2567: การปรับปรุงงานด้วยวิธี KAIZEN รุ่นที่ 3/3

30 ตุลาคม 2567: อาจารย์ ดร.ไมตรี บุญขันธ์ วันนี้ทำ Workshop ตลอดทั้งวัน ⭐️🎊🎉 เมื่อไคเซ็น เป็นวิธีการคิดใกล้ตัวเรามากๆ การปรับปรุงงานด้วยวิธี KAIZEN รุ่นที่ 3/3 ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปครับ 🧠💞🎖🎖

ขอบคุณ บริษัท เบเยอร์ จำกัด ด้วยครับ

ในโลกการแข่งขันทางอุตสาหกรรมปัจจุบัน องค์กรธุรกิจต่างมุ่งแสวงหาแนวทางการผลิต, การบริหารกระบวนการที่จะสามารถตอบโจทย์ทางด้านการแข่งขันได้ ทั้งเรื่องคุณภาพ ต้นทุนการผลิต และระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตจนถึงการส่งมอบ ดังนั้นการบริหารการผลิตและการสีส่วนร่วม จึงมีความสำคัญอย่างมาก การบริหารจัดการได้ดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลย่อมจะทำให้ผลลัพธ์ Q C D (Quality, Cost, Delivery) เป็นที่พึงพอใจจนถึงเกินความคาดหมายของลูกค้าได้ ทำให้องค์กรสามารถแข่งขันได้และเติบโตอย่างยั่งยืน
ความสำเร็จทางด้านการบริหารงาน หมายถึงความสามารถทำให้ได้ตรงตามเป้าหมาย ทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด การปรับปรุงขบวนการทำงาน โดยใช้เครื่องมือที่ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ และเกิดการปรับปรุงการทำงานด้วยตัวบุคคลากรภายในเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากบริษัทใดให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปรับปรุงงานด้วย KAIZEN ให้กับพนักงานแล้วนั้น ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เช่นลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาความเสียหาย ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไข การรอคอยงาน การขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับบุคลากรภายในได้อีกด้วย
คุณลักษณะของไคเซ็นจะเน้นการปรับปรุงทีละเล็กละน้อยและเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยการปรับปรุงสามารถทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นทีมก็ได้การทำ ไคเซ็นให้ประสบความสำเร็จต้องมีทัศนคติที่ดี KAIZEN ได้แก่ต้อง ละทิ้งความคิดเก่าที่ว่าไม่สามารถทำได้และคิดใหม่ว่าทุกอย่างสามารถทำได้ (Can do) , อย่ายอมรับคำแก้ตัว , ไม่ต้องแสวงหาความสมบูรณ์แบบของการปรับปรุงงานก่อนลงมือทำ ,ไม่จำเป็นต้องใช้เงินหรือทรัพยากรมากมายเพื่อทำการปรับปรุง, การปรับปรุงให้ดีขึ้นนั้นไม่มีจุดสิ้นสุดหรือไม่มีจุดจบเป็นต้น
โดยหลักสูตรนี้จะช่วยให้เข้าใจการแนวคิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น เรียนรู้วิธีการค้นหาจุดที่ควรปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานไคเซ็น แนวทาง/เทคนิคการปรับปรุงงาน ด้วยเครื่องมือต่างๆ โดยมีแนวทางประยุกต์ใช้ในงานของตนเองต่อไป ดังนั้นหากองค์กรได้มีการส่งเสริมสนับสนุนแนวคิด KAIZEN โดย “เปลี่ยนวิธีการ ปรับวิธีคิด เพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืน” ดังที่กล่าวมาแล้ว องค์กรจะได้รับการพัฒนาโดยพนักงานทุกระดับและเป็นวัฒนธรรมในองค์กรอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ถึงแนวคิดและวิธีการประยุกต์การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องด้วย ไคเซ็น
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานและลดต้นทุนในการทำงาน
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธี

4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อปรับปรุงงานได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อการอบรม

  1. ความสำคัญของการพัฒนางานและองค์กรในปัจจุบัน
  2. แนวคิดการปรับปรุงงานแบบ KAIZEN คืออะไร? ทำไมจึงสามารถลดต้นทุนและความสูญเสีย
  3. รูปแบบการคิดในการพัฒนางานแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับแนวคิดไคเซ็น
    Workshop Growth mindset Vs Fixed mindset
    Workshop ความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบ
  4. หลักการเขียนข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน
  5. การแบ่งประเภทและระบบข้อเสนอแนะของไคเซ็น (KAIZEN Suggestion)
    Workshop นำเสนอผลงาน Kaizen ของผู้เข้าอบรมที่เคยทำ (นำเสนอเป็นกระดาษหรือไฟล์ภาพ เพื่อฉายขึ้นสไลด์ เป็นการแลกเปลี่ยนไอเดีย ของผู้เข้าอบรมทุกคนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเอง knowledge Share คนหรือกลุ่มละ 5 นาที) และวิทยากรให้คำแนะนำ
  6. ปัญหาที่ควรนำมาทำและไม่ควรนำมาทำ ไคเซ็น
  7. หลักการพื้นฐานของไคเซ็นในการปรับปรุงงานทั้ง 3 หลักการ 7.1 หลักการแรก 5ส และ Visual control ของ ไคเซ็น 7.2 หลักการที่สอง วิธีการปรับปรุงงานโดยการวิเคราะห์กระบวนการ ตามหลัก เลิก/ลด/เปลี่ยน และ ECRS
    • หลักการเขียนขั้นตอนการทำงานเพื่อหาจุดปรับปรุงงานด้วย Flow Process Chart
    • หลักการและการประยุกต์ใช้ ECRS (ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออก/เอามารวมกัน/จัดเรียงใหม่/ ทำให้ง่ายขึ้น
      Workshop วิเคราะห์งานเพื่อปรับปรุงงาน
      7.3 หลักการที่สาม หลักการการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA
  8. วิธีการปฏิบัติ Plan Do Check Action
  9. กรณีศึกษา และ Workshop KAIZEN “ระดมสมองเพื่อปรับปรุงงานเป็นทีม” วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์ถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันผ่านกิจกรรมกลุ่มไคเซ็น

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *