10 ตุลาคม 2567: TQM Total Quality Management รุ่นที่ 12

10 ตุลาคม 2567: อาจารย์ ดร.ไมตรี บุญขันธ์ ได้ฝึกอบรมให้กับหัวหน้างานในหลายแผนก..💓🌷🙏 “TQM Total Quality Management” รุ่นที่ 12 ของปี 💛🌿🎊💐 ครับ #TQM

ขอบคุณ บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ด้วยครับ

คุณภาพของสินค้าหรือบริการคือสิ่งที่ทุกองค์กรต้องสร้างให้เกิดขึ้นในการทำงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้มากที่สุด การสร้างคนให้เข้าใจในการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพหรือที่เรียกว่ามี จิตสำนึกคุณภาพ เพราะถ้าเรามีพนักงานที่มีจิตสำนึกในการที่จะรักษาไว้ซึ่งคุณภาพ คิดถึงแต่การทำงานให้มีคุณภาพ การสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพจึงไม่ใช่สิ่งที่รอได้อีกต่อไป และเมื่อมีจิตสำนึกคุณภาพเกิดขึ้นแล้ว องค์กรยังจะสามารถพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆได้ง่ายและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมถึงต้นทุนในการผลิตและการทำงานที่ลดลงอีกด้วย
TQM (Total Quality Management) ถือเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในทุก ๆ หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการสร้าง “ความเข้าใจในการปรัชญาของ TQM” อย่างเป็นระบบและเห็นสิ่งที่ควรทำในด้านต่างๆ เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมนี้ไปพร้อมๆกับฝ่ายบริหารกิจกรรม ซึ่งจะเป็นดั่งแนวคิดที่ว่า การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร เป็นการรวบรวมเทคนิควิธีการ ที่ใช้ในการทำกิจกรรมเสริมที่ช่วยแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพให้กับพนักงานในระดับปฏิบัติการรวมถึงหัวหน้างาน และฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพได้เป็นอย่างดีอีกด้วยดังนั้นหลักสูตรนี้จึงเป็นการแนะนำให้ผู้ปฏิบัติงานงาน และพนักงานในองค์กร ได้ทราบโดยสังเขปว่าการนำ TQM มาประยุกต์ใช้ในเชิงปฏิบัตินั้นควรจะต้องเข้าใจกิจกรรมอะไรบ้างที่จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับปรัชญาและแนวคิดพื้นฐานของ TQM

วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม TQM อย่างเป็นระบบ
เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาคุณภาพ อย่างเป็นมีรูปแบบ
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน และบริษัทอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม
เพื่อสร้างกลุ่มคุณภาพ ให้เกิดขึ้นจากบุคคลากรภายในหลังการฝึกอบรม
เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

หัวข้อการอบรม

  1. ระบบการผลิต การแข่งขัน ขององค์กรในปัจจุบัน
  2. คุณภาพในการทำงาน สำคัญอย่างไร?
  3. Quality Mindset ในการทำ TQM
    • Fixed mindset Vs Growth mindset
    Work Shop ” จิตสำนึกคุณภาพ”
  4. ระบบTQM ตามแนวทาง Kano Model
    • แนวคิด ระบบ และเครื่องมือ
  5. การบริหารงานด้วยระบบ TQM
    • การบริหารนโยบาย การบริหารข้ามสายงาน และการบริหารงานประจำวัน
    Work Shop “การกำหนดหัวข้อควบคุม และจุดตรวจสอบ ในงานบริหาร
    ประจำวัน ( Daily Management )
  6. การปรับปรุงงานด้วยระบบ TQM
    • การปรับปรุงงานด้วย Project Team ( Cross Functional Team)
    Work Shop ” การปรับปรุงงานด้วยขั้นตอน QC Story แบบ Problem Solving/แบบ Theme Achievement”
  7. เทคนิคการทำ DSP (Draw,See,Think)
    • Draw การวาดภาพในอุดมคติ
    • See รับรู้สภาพความเป็นจริง
    • Think พิจารณาว่าสิ่งใดที่ควรทำ
    • Plan การนำไปวางแผนปฏิบัติ และต่อยอดด้วย DCA
  8. ปัจจัยและตัวชี้วัดความสำเร็จของระบบTQM
    แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถามตอบ

รูปแบบการสัมมนา

  1. การบรรยาย 40 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 50%
  3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 10 %

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการทำกิจกรรม TQM อย่างถูกต้อง
2.ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการของ TQM ไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกเรื่องคุณภาพและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
5.ผู้เข้าอบรมมีสำนึกการรักองค์กรมากขึ้น

#TQM

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *