21 สิงหาคม 2567: เทคนิคการทำ 5ส และ KAIZEN เพื่อการเพิ่มผลผลิต รุ่นที่ 1/2

21 สิงหาคม 2567: อาจารย์ ดร.ไมตรี บุญขันธ์ วันนี้ชื่อหลักสูตรยาวหน่อยกับ…☀🌞💓 ” เทคนิคการทำ 5ส และ KAIZEN เพื่อการเพิ่มผลผลิต” รุ่นที่ 1/2 🍂🍃🌿

ขอบคุณ บริษัท เอปสัน พรีซิชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ด้วยครับ

ในปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจมีความรุนแรงมากขึ้น สิ่งที่จะทำให้องค์กรธุรกิจสามารถแข่งขันเพื่ออยู่รอดได้ คือการทำให้องค์กรใช้ศักยภาพที่องค์กรมีอยู่อย่างเต็มที่เพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์กรให้ถึงจุดที่สามารถแข่งขันได้อย่างเหมาะสม ในการเพิ่มผลผลิตมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องมีการผสมผสานในการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ โดยการบูรณาการเข้าด้วยกัน
การดำเนินกิจกรรม 5 ส. เป็นการสร้างพื้นฐานให้กับพนักงานในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพให้เกิดขึ้นต่องานที่ทำด้วย ซึ่งกิจกรรม 5 ส. ประกอบด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐานและสร้างวินัย การดำเนินกิจกรรม 5 ส. ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องให้ พนักงานเข้าใจและเห็นประโยชน์ของการทำกิจกรรม 5 ส. ดังนั้นการส่งเสริมและผลักดันให้พนักงานทุกคนมีจิตสำนึก และความตระหนักในการมีส่วนร่วมในกิจกรรม 5 ส. จะนำไปสู่ผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามนโยบายและเป้าหมาย ที่บริษัทกำหนด การกำหนดสถานที่ที่จะวางสิ่งของ และวางจำนวนเท่าไหร่และวางผลิตภัณฑ์อะไร ที่สามารถบอกว่าจะต้องใส่จำนวนน้อยที่สุดเท่าใดและมากที่สุดเท่าใด หรือการประยุกต์ใช้ Visual control ร่วมกันในการทำ 5ส ให้สะดวกและเข้าใจง่ายขึ้น สิ่งสำคัญคือการอบรมให้พนักงานทุกคนทราบขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 5 ส. จึงเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญเพื่อให้พนักงานดำเนินกิจกรรมไปในทิศทางเดียวกันก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและทำให้บริษัท ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
ด้วยเหตุนี้องค์กรจำเป็นต้องคำนึงถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพและการเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ไคเซ็น (Kaizen) ถือเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยมเนื่องจากได้มีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร (competitive advantage) และยังส่งเสริมพฤติกรรมการทำงาน (working behavior) ของผู้ปฏิบัติในทิศทางที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อองค์กรและตัวของผู้ปฏิบัติงานเองอย่างยั่งยืน แต่การจะใช้ Kaizen ให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว จำเป็นต้องเริ่มจากกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วย 5ส ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำงานทุกระบบ ในหลักสูตรนี้จึงเป็นการบูรณาการเครื่องมือที่เป็นพื้นฐานง่ายๆ ทั้ง 2 อย่างนี้เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้อย่างแท้จริง


วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างจิตสำนึกและการหาวิธีการทำกิจกรรม 5ส. ในการทำงาน
เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
เพื่อสร้างแนวคิดในการประยุกต์ใช้ 5ส.และไคเซ็น ในการสร้างคุณภาพต่องานที่ทำ

หัวข้อการอบรม

  1. แนวคิดการเพิ่มผลผลิต เนื้อหา โดยสรุป : อธิบายหลักการแนวคิดการเพิ่มผลผลิต ความจำเป็น ผลประโยชน์ต่อพนักงาน องค์กร และลูกค้าอย่างไร รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมตามแนวคิด
  2. 5ส.และไคเซ็นคืออะไร มีความสัมพันธ์กันอย่างไร? เนื้อหา โดยสรุป : ให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงความสำคัญและความหมายของวิธีการปรับปรุงงานของเครื่องมือทั้งสอง
  3. หลักการใช้ 5ส+3TEI และ KAIZEN ในพื้นที่การทำงาน
    เนื้อหาโดยสรุป : ให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงหลักการเบื้องต้นในการนำ 5ส+3TEI และไคเซ็นมาประยุกต์ใช้รวมถึงข้อเสนอแนะวิธีการปรับปรุงงานในพื้นที่การทำงาน
  4. ขั้นตอนและการประยุกต์ใช้ 5ส. และ KAIZEN ในพื้นที่การทำงาน
    เนื้อหาโดยสรุป : เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงขั้นตอนในการปรับปรุงงานและการประยุกต์ใช้ที่ก่อให้เกิดการปรับปรุงงาน
  5. เทคนิคในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงงาน
    เนื้อหา โดยสรุป : เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้ถึงสาเหตุของปัญหาในการจัดทำการปรับปรุงงานและสามารถวิเคราะห์ปัญหา พร้อมหาแนวทางในการแก้ไขที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดโดยใช้ 5 why, Visualization (การทำให้มองเห็น), ECRS (การจัดระเบียบใหม่), 7 wastes analysis (การวิเคราะห์ความสูญเปล่า)
  6. การประยุกต์ใช้กิจกรรม 5ส และ KAIZEN ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ
    เนื้อหา โดยสรุป : Workshop การทำงานเป็นทีมเพื่อความสำเร็จที่สมบูรณ์ (Teamwork for
    Success)

กลุ่มเป้าหมาย
พนักงานทุกระดับ หัวหน้างาน และหัวหน้ากลุ่มย่อย (Small group activity) หรือผู้ที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้อง
รูปแบบการสัมมนา ACTIVITY BASE LEARNING

  1. การบรรยาย 40 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 50%
  3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 10 %

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการ 5ส และ ไคเซ็น อย่างถูกต้อง
2.ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการของ 5ส และ ไคเซ็น ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกเรื่องคุณภาพและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
5.ผู้เข้าอบรมมีสำนึกการรักองค์กรมากขึ้น

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *