7-8 สิงหาคม 2567 : การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) รุ่นที่ 1-2

7-8 สิงหาคม 2567 : อาจารย์ ดร.ไมตรี บุญขันธ์ ได้ทำการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่ทุกคนมีส่วนร่วม ในหลักสูตร “การคิดเชิงวิเคราะห์” (Analytical Thinking) รุ่นที่ 1-2 ให้กับบุคคลากร ระดับ บ.4 ที่เดินทางมาจากทั่วประเทศครับ

ขอบคุณ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เป็นอย่างสูงครับ

ในโลกยุคปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ มุ่งแสวงหาแนวทางการบริหารจัดการที่จะสามารถตอบโจทย์ทางด้านการแข่งขันได้  ทั้งเรื่องคุณภาพ ต้นทุน และระยะเวลาที่ใช้ในการบริหารงานจนถึงการส่งมอบให้กับผู้รับบริการหรือลูกค้า  โดยเฉพาะการพัฒนาแนวความคิดของ “คน” หรือบุคลากร ให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในระดับที่สูงและมีการพัฒนาการทำงานด้วยตัวของตนเอง ดังนั้นการพัฒนาตนเองของพนักงานทุกคนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้การทำงานของคนในองค์กรในทุกระดับชั้น ให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของคนที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลทำให้องค์กรมีการเติบโตก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

การพัฒนาตนเอง หรือ Self-Improvement นั้นผู้บริหารและพนักงานต้องมองไปในทิศทางเดียวกันว่า เราเป็นใคร เราอยู่ที่ไหน กำลังทำอะไรอยู่ และทำไปเพื่ออะไร ในเรื่องของ “ความสำเร็จในการทำงาน” นั้น “Thinking” หรือ “ความคิด” ถือเป็นจุดเริ่มต้นและหัวใจสำคัญของการทำงานทุกประเภทเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ การปลูกฝัง สร้างความรู้ ที่ส่งเสริมการพัฒนาตนเอง เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะแนวคิด (Concept) วิธีการ (How to) ที่ถูกต้องและสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้อย่างง่ายดายเพื่อช่วยให้องค์กรพัฒนาพนักงาน ให้มีความรู้ มีแนวคิดในการพัฒนาตนเองไปสู่ความสำเร็จ ทั้งต่อตนเองและนำไปสู่การพัฒนาองค์กรร่วมกันได้ในที่สุด หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของระบบการคิดอีกรูปแบบหนึ่งที่จำเป็นต้องมีในการทำงาน “การคิดเชิงวิเคราะห์  (Analytical Thinking)” เพื่อสร้างวิธีการคิดอย่างเป็นระบบและเห็นผลได้อย่างแน่นอน เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงการทำงานกับพนักงานทุกระดับและฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ในการพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างแนวคิดในการสร้างลดความสูญเสีย และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในการทำงาน โดยใช้หลัก   

     Fact-based Management

2. เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรมใหม่ๆในการทำงานและการปรับปรุงงาน ที่เกิดจากการ       

    นำเอาประสบการณ์ในการทำงานที่อยู่ในตัวเองมาคิดต่อยอด คิดนอกกรอบ และทำให้เป็นไปได้

3. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและองค์กรอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับกล 

    ยุทธ์ พันธกิจ และเป้าหมายขององค์กร

4. เพื่อสร้างแนวคิดในการเลือกใช้เครื่องมือในการปรับปรุงงานอย่างเป็นระบบ มีความมั่นใจในการ

    เลือกใช้ตามหลักการ Analytical thinking ได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อการอบรม

1.ระบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศในปัจจุบัน

2.ทำไมทุกองค์กรต้องแข่งขันในการปรับปรุงงาน?

3.กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร

4.แนวคิดของการปรับปรุงงานสู่การคิดเชิงวิเคราะห์

5.ทัศนคติของคนที่พร้อมจะปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง

– ความคิดแบบ Growth mindset Vs Fixed Mindset

6. กระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) 5 ขั้นตอนด้วยเครื่องมือต่างๆ

6.1 ระบุปัญหาหรือข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ให้ชัดเจน (Define the problem)

            – ความหมายของ ปัญหา

            – ประเภทของปัญหาตามการคงอยู่

            Workshop: Finding the problem?

6.2 รวบรวมและประมวลผลข้อมูล (Gather and interpret information) +Workshop

            – เครื่องมือทางสถิติเบื้องต้นในการวิเคราะห์ข้อมูล

6.3 พัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ (Develop possible solution) +Workshop

            – การวิเคราะห์หาความเชื่อมโยงของสาเหตุของปัญหาด้วย Relation diagram

            – การคัดเลือกสาเหตุเพื่อไปทำการแก้ไขด้วย Tree diagram

6.4 นำแนวทางการแก้ปัญหาไปวางแผนกำหนดระยะเวลา (Planning for Problem solving)

            – การวางแผนแก้ไขปัญหาด้วย Arrow diagram +Workshop

6.5 เลือกแนวทางที่ดีที่สุดไปดำเนินการใช้ (Select and implement a solution)

            – การหาวิธีการคัดเลือกสิ่งที่ดีที่สุดด้วย Matrix data analysis +Workshop

สรุป/ตอบข้อซักถาม

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *