15 กรกฎาคม 2567: เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพแบบใหม่ 7 ชนิด รุ่นที่ 2

15 กรกฎาคม 2567: อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์ วันนี้อบรมเชิงปฏิบัติการ 🎄🌹🎁 “เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพแบบใหม่ 7 ชนิด” รุ่นที่ 2 ❤🎀🎊 ครับ

#NewQC7Tools

ขอบคุณ บริษัท โอกาวา เอเซีย จำกัด ด้วยครับ

เครื่องมือจัดการคุณภาพใหม่ 7 ชนิด (The 7 New QC Tools) เกิดจากสถาบัน JUSE ในญี่ปุ่น ที่ได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาเครื่องมือการจัดการด้านคุณภาพเพื่อให้ผู้บริหารใช้ สำหรับทำการติดตามการจัดการคุณภาพ ต่อเนื่องจากเครื่องมือพื้นฐานการจัดการคุณภาพ 7 แบบ ที่มีอยู่เดิมเพราะเครื่องมือเดิมนั้นเหมาะกับการแก้ปัญหา ใน 1972 จึงเริ่มมีการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือใหม่ เพื่อให้ผู้บริหารกับพนักงานวางแผนใช้ ได้เป็น เครื่องมือจัดการคุณภาพใหม่ 7 ชนิด (The 7 New QC Tools) โดยรวบรวมเครื่องมือที่มีมาเป็นชุดใหม่ที่ใช้สำหรับวางแผนป้องกันปัญหา เพื่อให้ได้นโยบายและมาตรการที่ตรงกันชัดเจนเป็นรูปธรรม นำมาแก้ปัญหาทางด้านคุณภาพ (QC Problem) ตามขั้นตอนของวงจรในการบริหาร (Wheel of P-D-C-A) โดยเริ่มตั้งแต่การระบุปัญหา การหาสาเหตุ การตั้งเป้าหมาย รวมถึง ตรวจติดตามผลการแก้ปัญหา ช่วยให้เกิดแนวความคิด วางแผนการแก้ไข ได้อย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย

  1. แผนภูมิการจัดกลุ่มความคิด (Affinity Diagram) ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นคำพูด ความรู้สึกจากผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง นำมาจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อแยกกลุ่มของข้อมูลไว้สำหรับการนำมาวิเคราะห์ในขั้นต่อไป โดยตั้งคำถามว่า “ทำไม” “เพราะอะไร” จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นในองค์กร (ทำไมถึงไม่บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย?)
  2. แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relation Diagram) หลังจากจัดกลุ่มข้อมูล (Affinity Diagram) แล้ว ผู้บริหารควรมุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข/ป้องกันเพื่อใช้ในการวางแผนเชิงรุก และเชื่อมโยงกลุ่มข้อมูลที่ได้จากการจัดกลุ่มความคิด (Affinity Diagram) แต่ละกลุ่มแต่ละความคิด แสดงข้อมูลที่เป็นเหตุ-ข้อมูลที่เป็นผลและเชื่อมโยงจนกระทั่งทราบถึงต้นตอหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Root Causes) เพื่อนำไปหาแผนงานแนวทางหรือวิธีการป้องกันปัญหาให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายต่อไป
  3. แผนภูมิต้นไม้ตัดสินใจ (Tree Diagram/ Decision Tree) ใช้เพื่อหาแนวทางแก้ไขป้องกัน ในรูปของแผนงานหรือวิธีการ โดยตอบคำถามว่า “ทำอย่างไร” เพื่อมุ่งสู่วัตถุประสงค์/เป้าหมายที่อยากเป็น โดยการมุ่งเน้นไปที่ต้นตอหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาจากแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relation Diagram)
  4. แผนภูมิเมตริกซ์ (Matrix Diagram) เป็นเครื่องมือที่ช่วยหาความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์/เป้าหมาย และแผนงาน/มาตรการ/วิธีการ ที่ได้จากการเสนอแนะขึ้นว่าแนวทางใดน่าจะมีความเป็นไปได้ มีความคุ้มค่า และส่งผลกระทบให้บรรลุถึงเป้าหมายได้ก่อน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด อย่างเต็มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล
  5. แผนภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเมตริกซ์ (Matrix Data Analysis Chart) เป็นเครื่องมือที่ใช้เปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmark) จากมุมมองของลูกค้าและเทียบกับคู่แข่งที่เป็นผู้นำในด้านสินค้า หรือบริการคล้ายๆกับองค์กรของเรา วิธีนี้จะทำให้เห็นภาพว่าองค์กรเราอยู่ในตำแหน่งใด (Positioning) เพื่อมองกลยุทธ์ในการบริหารจัดการที่เหมาะสมต่อไปอย่างถูกทิศทาง
  6. แผนภาพทางเลือกตัดสินใจ เพื่อบริหารความเสี่ยง (Process Decision Program Chart) เป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยหาแนวทางซึ่งอาจเป็นแผนงาน/มาตรการ/วิธีการ โดยมุ่งเน้นไปยังอุปสรรคที่น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อทราบถึงทุกอุปสรรคในกระบวนการก็สามารถหาแนวทางในการขจัดอุปสรรคทุกประเภทที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต คล้ายกับการมีแผนปฏิบัติการฉุกเฉินรองรับไว้เผื่อสำหรับการเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้องค์กรมีความมั่นใจต่อการเผชิญกับ
  7. แผนภูมิลูกศร (Arrow Diagram) เป็นการวางแผนงานที่มีการกำหนดกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา และลำดับก่อนหลังของแต่ละกิจกรรมว่ากิจกรรมใดควรทำก่อน-หลัง เพื่อที่จะบริหารโครงการหรือแผนงานให้บรรลุเป้าหมายได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
    เครื่องมือจัดการคุณภาพใหม่ 7 ชนิด (The 7 New QC Tools) เป็นเครื่องมือที่ทางประเทศญี่ปุ่นพัฒนาเพิ่มเติมจาก เครื่องมือพื้นฐานจัดการคุณภาพ 7 แบบ (The 7 Basic QC Tools) ให้มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารระดับหัวหน้า/ผู้จัดการแผนก/ฝ่ายขึ้นไป ใช้ช่วยในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นคำพูด ความรู้สึกจากผู้บริหาร เพื่อวางแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ ในเชิงป้องกันหรือเชิงรุก โดยการระดมความคิดและข้อเท็จจริงในอดีต รวมถึงการมองภาพความต้องการในอนาคตของลูกค้าและคู่แข่งมาใช้เพื่อกำหนดแผนงาน/โครงการในการรักษาฐานลูกค้าเดิม ขยายฐานลูกค้าใหม่ เพิ่มยอดขาย และลดต้นทุนขององค์กรได้อย่างเป็นระบบ การนำไปใช้ในการวางแผนงานโครงการหรือกำหนดมาตรการ ควรที่ผู้ใช้ต้องศึกษาวัตถุประสงค์ ความสามารถ และเป้าหมายของเครื่องมือแต่ละตัว ให้เข้าใจมากที่สุดเพื่อที่จะสามารถคัดเลือกนำเอาเครื่องมือแต่ละตัวมาใช้ในงานได้อย่างถูกต้อง
    วัตถุประสงค์
    เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
    เพื่อทราบถึงเครื่องมือจัดการคุณภาพ ทั้ง 14 ชนิด หรือ 14 Tools
    เพื่อสร้างแนวคิดในการใช้ New QC 7 Tools อย่างถูกต้อง
    เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
    เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
    เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อการอบรม
-องค์ประกอบของธุรกิจ ต้นทุน กำไร และรายได้

  • ความเป็นมาและความหมายของระบบคุณภาพ
    กลุ่มข้อมูลเชิงปริมาณ: สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (Quantitative Data)
    กลุ่มข้อมูลเชิงคุณภาพ : ข้อมูลที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (Qualitative Data)
  • เรียนรู้การใช้เครื่องมือ QC 7 Tools แบบเดิมในการแก้ไขปัญหา
  • การใช้เครื่องมือ New QC 7 Tools ในการวิเคราะห์ปัญหาแบบต่างๆ
  1. แผนผังกลุ่มเครือญาติ (Affinity Diagram)
  2. แผนผังกลุ่มเชื่อมโยง (Relation Diagram)
  3. แผนผังต้นไม้ (Tree Diagram)
  4. แผนผังลูกศร (Arrow Diagram)
  5. แผนผังตาราง (Matrix Diagram)
  6. แผนผังการวิเคราะห์ข้อมูล (Matrix Data Analysis)
  7. แผนผังขั้นตอนการตัดสินใจ (Process Decision Program Chart)
  • แนวคิดของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA
  • การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วย QC Story
  • เรียนรู้ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาผ่านการระดมสมอง (Small group activity)

กลุ่มเป้าหมาย
หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *