10 พฤษภาคม 2567: อาจารย์ ดร.ไมตรี บุญขันธ์ วันนี้กับน้องๆทำงานในคณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานของโรงงาน.. “บทบาทหน้าที่ของทีมอนุรักษ์พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน” ครับ
ขอบคุณ บริษัท แอมพาส ออโต้ มิลเล่อร์ จำกัด ด้วยครับ
“ในการที่จะทำให้พนักงานในองค์กรมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์หรือการประหยัดพลังงานนั้น หลายองค์กรได้มีการพยายามรณรงค์กันอย่างหลากหลายรูปแบบ เกิดความสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง บางองค์กร รณรงค์กันอย่างจริงจังอย่างต่อเนื่อง แต่พอหยุดการรณรงค์หรือหมดระยะเวลาในโครงการแล้ว ไม่นานนักพนักงานก็กลับมามีพฤติกรรมที่ไม่ประหยัดอีก อาจจะเกิดเพราะความเคยชิน หรือมองไม่เห็นความสำคัญในการประหยัดพลังงาน เพราะว่าเห็นเป็นเรื่องไกลตัวและเกิดความไม่สะดวกสบายในการทำงาน เป็นต้น”
แต่ถ้าองค์กรใดให้พนักงานทุกคนได้มีความรู้ในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม องค์กรนั้นจะเกิดการใช้พลังงานได้เกิดประโยชน์สูงสุดและต่อเนื่องยั่งยืน รวมถึงสภาพแวดล้อมภายในองค์กรก็จะได้รับการดูแลอย่างถูกต้องอีกด้วย ดังนั้นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงานในองค์กร” จะเป็นการฝึกอบรมที่ให้พนักงานตระหนักถึงคุณค่าของพลังงานและผลกระทบจากการใช้พลังงาน ขั้นตอนวิธีการในการลดการใช้พลังงานและใช้ทรัพยากรในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างเป็นระบบและง่ายในการนำไปใช้ กรณีตัวอย่างของกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้ เทคนิคการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพประสบความสำเร็จ รวมทั้งการระดมสมองในการจัดทำแผนรณรงค์ระชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นแก่องค์ได้
หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงานในองค์กรเพื่อให้พนักงานทุกคนเกิดความตระหนักถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ ทั้งต่อตนเอง องค์กร ประเทศชาติ และต่อสภาวะแวดล้อมของโลกเราได้อีกด้วย
หัวข้อการอบรม เวลา 09.00 – 12.00 น.
1.พลังงานมีความสำคัญอย่างไร
2.ที่มาของกฎหมายการอนุรักษ์พลังงานและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการอนุรักษ์พลังงาน
- ความเป็นมาของการอนุรักษ์พลังงานในประเทศไทย
- การแต่งตั้งคณะทำงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน
- บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานในองค์กร
- อำนาจหน้าที่ของคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน
- การประเมินสถานการณ์ด้านการจัดการพลังงานเบื้องต้น
- การเขียนนโยบายอนุรักษ์พลังงาน
- การกำหนดเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงาน
หัวข้อการอบรม เวลา 13.00 – 16.00 น.
- แผนการฝึกอบรมและกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงาน
- การจัดองค์กรเพื่อรองรับกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงาน
- การทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องระบบการจัดการพลังงาน
3.วิธีการประหยัดพลังงานในระบบต่าง ๆ และผลกระทบจากการใช้พลังงานมากเกินความจำเป็น
- การส่งเสริม และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานในองค์กร
4.ตัวอย่างความสำเร็จในการประหยัดพลังงาน
5.การติดตามและประเมินผลความสำเร็จด้านการจัดการพลังงานของทีมอนุรักษ์พลังงาน
Workshop1: ระดมสมองเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน