4-5 เมษายน 2567: อาจารย์ ดร.ไมตรี บุญขันธ์ สองวันนี้มาถึงนิคมอุตสาหกรรมลำพูน ได้ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ LEAN!..วันนี้ระดมสมอง ช่วยคิด ช่วยทำ ลงมือปฏิบัติ ตลอดทั้งสองวัน “การบริหารจัดการงานแบบลีน เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของงาน” ครับ
ขอบคุณ บริษัท เอ จี ซี ไมโครกลาส (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยครับ
การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเรื่องความต้องการของลูกค้า ทั้งด้านงานผลิตและงานบริการส่งผลให้ทุกองค์กรต้องปรับตัวเพื่อรองรับสภาพ ดังกล่าว สิ่งที่ทุกองค์กรจำเป็นต้องดำเนินการก็คือการปรับองค์กรโดยเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน ลดต้นทุนในการดำเนินงาน และสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้แก่ ความไม่แน่นอนของความต้องการในงานบริการของลูกค้า ความไม่แน่นอนของกระบวนการทำงาน และความไม่แน่นอนของเวลาในการทำงานที่เร่งรีบ ด้วยเหตุนี้การนำเอาระบบการทำงานแบบลีน ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตรองรับการ เปลี่ยนแปลงต่างๆ และลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการทำงาน ตั้งแต่การออกแบบ การจัดส่งวัตถุดิบของผู้จัดส่ง การบริหารพัสดุคงคลัง การผลิต จนกระทั่งการสร้างความพึงพอใจและการบริการให้แก่ลูกค้ามาประยุกต์ใช้ด้วยการวิเคราะห์คุณค่าของกระบวนการจึง เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยแนวคิดนี้จึงเป็นเหตุผลที่สำคัญที่ทุกคนในองค์กร ควรจะมีความรู้เรื่อง ลีน เบื้องต้นเพื่อช่วยกันระดมสมองในการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรในเทคนิคการลดต้นทุนทั้งในและนอกกระบวนการผลิตมีอยู่หลายวิธี MUDA MURI MURA
เป็นเทคนิคแนวคิดของประเทศญี่ปุ่นในการบริหารงาน Muda หรือความสูญเปล่า อาจเกิดได้หลายลักษณะ เช่น ความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอ การเคลื่อนย้าย การปรับเปลี่ยน การทำใหม่ การถกเถียง ความสูญเปล่าทั้ง 8 ประการ (7+1 wastes)
ความสูญเปล่าที่ 1 ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)
ความสูญเปล่าที่ 2 ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตของเสีย (Defect)
ความสูญเปล่าที่ 3 ความสูญเสียที่เกิดจากการล่าช้าหรือการรอคอย (Delay or Waiting)
ความสูญเปล่าที่ 4 ความสูญเสียที่เกิดจากการมีวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็น (Inventory / working – process)
ความสูญเปล่าที่ 5 ความสูญเสียที่เกิดจากการขนส่งหรือขนย้าย (Transport)
ความสูญเปล่าที่ 6 ความสูญเสียเกิดจากการกระบวนการผลิต (Process)
ความสูญเปล่าที่ 7 ความสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion)
ตามทฤษฎีเดิม 7 wastes ได้มีเพิ่มความสูญเปล่าตัวที่ 8 (ความสูญเปล่า 7+1 ประการ)
ความสูญเปล่าที่ 8 การใช้คนไม่เป็น (Underutilized people)
Mura หรือความไม่สม่ำเสมอ งานที่มีความไม่สม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นในเรื่องปริมาณงาน ทำให้เกิดความไม่สม่ำเสมอของผลงานตามไปด้วย และความไม่มีมาตรฐานของการทำงาน
Muri หรือการฝืนทำ การฝืนทำสิ่งใด ๆ ก็ตามมักทำให้เกิดผลกระทบบางอย่างในระยะยาว
สรุปคือ MUDA ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น MURI ความยากลำบากความไม่เป็นธรรมชาติ และ MURA ความไม่สม่ำเสมอในการทำงาน ความหมายรวมคือการเปรียบเทียบระหว่าง จุดประสงค์ (สิ่งที่ต้องการ) กับวิธีการ (วิธีที่จะทำให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ) วิธีการต่างเกินไปน้อยเกินไปหรือไม่สม่ำเสมอก็จะทำให้เกิดความสูญเปล่าได้ทั้งสิ้น ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ว่าจะมีแนวทางป้องกันแก้ไขด้วยวิธีการง่ายๆ ได้อย่างไรและสามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลเกิดประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานเพิ่มขึ้น
หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการทำงานได้อย่างเป็นระบบและเห็นผลได้อย่างแน่นอน เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหากับพนักงานในระดับปฏิบัติการและการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ในการแก้ไขปัญหาด้วยหลักการ 7 Waste เป็นอย่างดีอีกด้วย
หัวข้อการอบรม ระยะเวลา 12 ชั่วโมง
1.องค์ประกอบของธุรกิจ ต้นทุน กำไร และรายได้
2.การปรับความคิดสู่ การทำ “ลีน” ในการทำงาน
3.ทำไมต้องทำ “ลีน”
- วิวัฒนาการและแนวคิดพื้นฐานของลีน 5 ประการ
4.1 กำหนดหรือเพิ่มคุณค่า (Value) ในมุมมองของผู้รับบริการ
4.2 ค้นหาความสูญเปล่า (Waste) ลดหรือขจัดให้หมดไป
4.3 ปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้กระบวนการทำงานไหล (Flow) อย่างราบรื่นไม่สะดุด (Seamless)
4.4 เริ่มกระบวนการทำงานจากความต้องการของลูกค้า หรือความพร้อมของขั้นตอนต่อไป (Pull) ไม่ทำก่อนหน้านั้น (Push)
4.5 สามารถปรับใช้ได้ (Flexible) ในทุกบริบทขององค์กรทั้งด้านการผลิตและบริการ - ความหมายของหลักการลดต้นทุนด้วย “7 Waste’
- แนวความคิดหลักเกี่ยวกับความสูญเปล่าและต้นทุน
ความสูญเปล่าที่ 1 ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)
ความสูญเปล่าที่ 2 ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตของเสีย (Defect)
ความสูญเปล่าที่ 3 ความสูญเสียที่เกิดจากการล่าช้าหรือการรอคอย (Delay or Waiting)
ความสูญเปล่าที่ 4 ความสูญเสียที่เกิดจากการมีวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็น (Inventory / working – process)
ความสูญเปล่าที่ 5 ความสูญเสียที่เกิดจากการขนส่งหรือขนย้าย (Transport)
ความสูญเปล่าที่ 6 ความสูญเสียเกิดจากการกระบวนการผลิต (Process)
ความสูญเปล่าที่ 7 ความสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion)
ตามทฤษฎีเดิม 7 wastes ได้มีเพิ่มความสูญเปล่าตัวที่ 8 (ความสูญเปล่า 7+1 ประการ)
ความสูญเปล่าที่ 8 การใช้คนไม่เป็น (Underutilized people)
Work Shop1 “ระดมสมองเพื่อวิเคราะห์ความสูญเสียในการทำงาน” - เทคนิคการวิเคราะห์ความสูญเสียด้วย Flow diagram อย่างง่าย
- รู้จักการลดต้นทุนการผลิตด้วยเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ของลีน
- 5S for Productivity improvement
- KAIZEN suggestion
- QCC activity
- TPM & TQM
- Pull system
- KANBAN
- Just in time
- การปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วยการใช้เทคนิค ECRS
Work Shop2 “ใจเขาใจเรากับคุณภาพที่ลูกค้าต้องการ”
Work Shop3 “มาสร้างเป้าหมายการทำงานร่วมกันด้วยการทำงานเป็นทีม”
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถามตอบ